การสร้างแบบตัวชี้วัดความสุขที่แท้จริงในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุยุค 4.0

ผู้แต่ง

  • กมลพัชร วิสุทธิภักดี บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด แขวงลาดยาว เขตจัตุจักร กรุงเทพฯ
  • สิทธิ์ ธีรสรณ์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จุน หน่อแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัด, ความสุขที่แท้จริง, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขที่แท้จริงสำหรับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และการสร้างแบบตัวชี้วัดความสุขที่แท้จริงในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุยุค 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ดูแล จำนวน 10 คน กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน จากการเก็บข้อมูลทั้งหมด 10 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกหาคุณภาพของเครื่องมือ IOC มากกว่า 0.5 วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีส่วนร่วม และสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนการดำเนินการ และนำเสนอในการสร้างแบบตัวชี้วัดความสุขที่แท้จริงในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ รวมถึงข้อมูลในแบบพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า สัมพันธภาพจากครอบครัว ญาติ เพื่อน ผู้ดูแล ผู้บริหารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ มีผลต่อการออกกำลังกายความสุขที่แท้จริงในการออกกำลังกายอย่างยั่งยืนตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ได้แบบตัวชี้วัดความสุขที่แท้จริงในการออกกำลังกาย ประกอบไปด้วย 5 มิติตามทฤษฏีความพึงพอใจที่สำคัญ ได้แก่ มิติที่ 1 ความเป็นรูปธรรมของการบริการ มิติที่ 2 ความเชื่อถือไว้วางใจได้ มิติที่ 3 การตอบสนองต่อลูกค้า มิติที่ 4 การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า มิติที่ 5 การรู้จักและเข้าใจลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพเชื่อมโยงกับทฤษฏีสัมพันธภาพ

References

สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560– 2564). กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.; 2559.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ : สำมลดำ; 2559.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ.แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ (พ.ศ.2545 – 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2559.

มังกร ธนสารศิลป์ . รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย [ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2560.

Harvard University. The world’s longest research 75 years. [online]. (2019). [cited December 18, 2019]. Available from https://scholar.google.co.th/scholar

วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://scholar.google.co.th/scholar

อภิชัย ศรีเมือง . KPI เพื่อประเมินความสำเร็จของหัวหน้างานสำหรับผู้บริหาร. นนทบุรี : บริษัท ธิงค์ บียอนด์บุ๊คส์ จำกัด.; 2556.

คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานการพัฒนาตัวบ่งชี้และเครื่องมือวัดตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติมาตรฐานที่ 2 แนวทางการจัดการศึกษาและ มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ; 2552.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. KPI หัวใจนักบริหารตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ : บริษัท .เอเชียเพรส (1989) จำกัด; 2553.

Davis, K. and W. N. John. Human Behavior at Work: Organizational Behavior. New York : McGraw-Hill Book Company; 1989.

Maslow, A. M. Motivation and Personality. New York: Harper and Row; 1954.

Health literacy. Health dispersion Health care Health intelligence Health Awareness Dhurakij Pundit University, Dhurakij Pundit University; 2013.

World Health Organization (WHO). International Society of health. WHO/ISH statement On management of health; 2003.

ปนัดดา มหิทธานุภาพ. การปฏิบัติพัฒนกิจและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุสูงอายุ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา 2561; 4(1) : 56 – 65.

อภิชัย ศรีเมือง. SWOT เทคนิควิเคราะห์ธุรกิจอย่างเฉียบคม (สไตล์ผู้บริหารมืออาชีพ). กรุงเทพฯ : บริษัท ธิงค์ บียอนด์บุ๊คส์ จำกัด; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30