รูปแบบการดำเนินงานเสริมสร้างความสุขตามแนวทาง Happinometer โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • คงเดช กล้าผจญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินงาน, แบบวัดความสุขด้วยตนเอง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานเสริมสร้างความสุขตามแนวทาง Happinometer โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรทุกท่านในหน่วยงาน จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบวัดความสุขด้วยตนเอง (Happinometer) และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและความพึงพอใจต่อกิจกรรม ในด้านข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์ และการสังเกต การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติ Paired sample t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิง

การศึกษารูปแบบการดำเนินงานเสริมสร้างความสุขตามแนวทาง Happinometer ครั้งนี้ เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมการ ระยะที่ 2ดำเนินการวิจัยและระยะที่ 3 หลังดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทหน่วยงาน (2) ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (3) จัดทำแผนปฏิบัติการ (4) ดำเนินการตามแผน (5) สังเกต ติดตามและประเมินผล (6) เปรียบเทียบผลและสรุปผล (7) สะท้อนผลลัพธ์ร่วมกัน ซึ่งพบว่าภายหลังการพัฒนาบุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยความสุขในทุกมิติ รวมทั้งด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเสริมสร้างความสุข และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเสริมสร้างความสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยบุคลากรมีมิติความสุขด้านสุขภาพเงินดีไม่แตกต่างจากก่อนการพัฒนา (p-value = 0.48) การดำเนินงานครั้งนี้ทาให้บุคลากรมีความสุขในภาพรวมเพิ่มขึ้น และเกิดรูปแบบที่เรียกว่า HAPPY Model ซึ่งมาจากการวิเคราะห์ร่วมกันของบุคลากรเพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการนามาใช้กับบริบทในหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนให้บุคลากรมีความสุขในการทำงานยิ่งขึ้น

References

ฐิตินันท์ เขียวนิล. ระดับความสุขในที่ทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2554.

ขวัญเมือง บวรอัศวกุล. การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกับการทำงานอย่างมีความสุข. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://tpso4.m-society.go.th/index.ph43.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ . รู้จัก . Happinometer: ปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th.

แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ; 2552.

AllPhych. Chapter 9.1 : Inferential Statistics. [online]. (2018 ). [cited March 2019, 22]. Available from https://allpsych.com/researchmethods/inferentialstatistics/.

Kemmis K. & Mc Taggart R. Participatory action research. In Handbook of qualitative research. London : SAGE; 2000.

สมนึก ปฏิปทานนท์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน 2550; 2(1) : 57–74.

กรมส่งเสริมการเกษตร . ระบบส่งเสริมการเกษตร : ระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่ฝ่าย โรงพิมพ์ . กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี; 2551.

Best J.W. & Kanh J.V. Research in Education (6th ed.). New Delhi: Plentice - Hall; 1989.

กิติพัฒน์ ดามาพงษ์. ความสุข ความพึงพอใจ ต่อความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุข (happy workplace). [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://kmops.moph.go.th/index.php/km-test/2012-09-19-04-22-45/362-happy-workplace.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30