การประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นันทพัทธ์ ธีระวัฒนานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข, รูปแบบการประเมินผล, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

บทคัดย่อ

การประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค สำรวจความคิดเห็น ประสิทธิผลของการดำเนินงานของสถานบริการ พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบของการประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขของจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ CIPP Model การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสนทนากลุ่ม โดยสอบถาม กลุ่มที่ 1 หัวหน้างานแผนระดับอำเภอหรือผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการประเมินผลของอำเภอ จำนวน 192 คน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารระดับอำเภอ จำนวน 50 คน และ สนทนากลุ่มผู้บริหาร จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า จากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมาก ในด้านบริบท กระบวนการและผลผลิต ด้านปัจจัยนา เข้าเห็นด้วยน้อยกับความสอดคล้องระหว่างคนและปริมาณงาน จากการสนทนากลุ่มผู้บริหาร เห็นว่าตัวชี้วัดและเกณฑ์การวัดมีความเหมาะสม และเสนอให้ลดจำนวนผู้ประเมินและพัฒนาบุคลากร ในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากว่าเป็นการกำกับและกระตุ้นการทำงาน ค่าคะแนนของตัวชี้วัดเหมาะสม ปานกลาง การถ่วงน้ำหนักและการตัดเกรดแบบอิงกลุ่มเหมาะสม การประเมินรอบแรกใช้เฉพาะข้อมูลเชิงปริมาณโดยนา ผลงานของทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลมาหาค่าเฉลี่ย และในการประเมินรอบ 2 สุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ดูผลงานเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยแจ้งล่วงหน้า 1 วัน

ข้อเสนอแนะ ควรประเมินให้สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่ ลดจำนวนตัวชี้วัด และเป้าหมายลงเปิดโอกาสให้ระดับตำบล อำเภอกำหนดตัวชี้วัดเอง ดูที่ผลลัพธ์และการพัฒนางาน และมีการพัฒนาบุคลากร นาผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของข้อมูล ทั้งนี้รูปแบบการประเมินผลในปี 2562 นี้เหมาะสม และนำไปใช้ในปีต่อไป

References

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545. [ออนไลน์]. (2545). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.eppo.go.th/images/law/PDF/law2/act15-2545-5.pdf

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. [ออนไลน์]. (2545). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.ops.moc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3930

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ปัญหาของการดำเนินงานโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2561.

Stufflebeam, D. L. , & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey- Bass; 2007.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. 24 ปี ย้อนรอยอดีต รายงานประจาปี 2562. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด; 2563.

ปราโมชย์ เลิศขามป้อม มโน มณีฉาย และธีระ วรธนารัตน์. การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2557. โครงการพัฒนานักวิจัยเขตสุขภาพประจา ปี 2557. สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. การจัดทาแผนยุทธศาสตร์แบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามหลัก Balanced Scor card: แผนยุทธศาสตร์ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559; 2563.

วัชรากร ศุภกาญจนรุจิ. การประเมินโครงการจัดทาระบบสารสนเทศการบริหารทรัพยากรบุคคล ระดับกรม (DPIS) : กรณีศึกษากรม ทางหลวง [การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์ และณภัทรกฤต จันทวงศ์. การวิจัยประเมินผลโครงการระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง ตำบลบ้านลา อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(6): 1076 – 85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30