การประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การประเมินผล, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดสถานการณ์ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน พร้อมทั้งประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอปากช่อง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอหนองบุญมาก และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอลำทะเมนชัย จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณนำเสนอในรูปแบบร้อยละ จำนวน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ นำเสนอโดยการจำแนกแยกแยะ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า (1) สถานการณ์การดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ประเด็นที่ถูกขับเคลื่อนของแต่ละอำเภอมาจากข้อตกลงของทุกภาคส่วนปรึกษาหารือร่วมกัน โดยแต่ละอำเภอกำหนดประเด็นขับเคลื่อนต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ประเด็นอุบัติเหตุมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และสุขภาพดีที่ลำทะเมนชัย โดยจากการดำเนินงานส่วนใหญ่พบปัญหาการส่งคืนข้อมูลให้ชุมชน ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ส่งผลให้ชุมชนไม่ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยอย่างจริงจัง แนวทางการแก้ไขปัญหาดำเนินการคืนข้อมูลผ่านหลายช่องทาง เช่น การประชุม ผู้นำ ชุมชน เป็นต้น (2) การประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยภาพรวมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมีความพึงพอใจต่อบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภออยู่ที่ระดับมาก (=4.12, S.D.=.62) (2) โดยภาพรวมประสิทธิภาพในการดำเนินงานอยู่ที่ระดับดี (=4.16, S.D.=.69).
References
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลางตามแนวทางประชารัฐ. กรุงเทพฯ : สำเนาอัด ; 2559.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. คณะที่ 2 การพัฒนาระบบบริการ(service plan) หัวข้อการพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ พชอ.จังหวัดนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9 ตรวจราชการวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2562. นครราชสีมา : เรืองสังข์บ้านงานพิมพ์; 2562.
สมคิด แทวกระโทก. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจักราชจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย 2560; 11(1) (มกราคม - เมษายน) : 158 – 70.
พรสวรรค์ พรกาญจนวงศ์. รูปแบบการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ (district health system) เขตสุขภาพที่ 12 ปี 2558 – 2560. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2562; 33(1) (มกราคม – มีนาคม) : 59 – 72.
พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ และสุรชัย โชคครรชิตไชย.การจัดบริการสาธารณสุข ระดับอำเภอ : กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8(1) (มกราคม – เมษายน) : 152 – 61.
นันทิยา ใจเย็น. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พิการในพื้นที่ของเทศบาลตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตร ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.
ธเนศ ภัทรวิรินกุล. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการอำเภอจัดการระบบสุขภาพอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560; 13(1) : 3 – 11.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey- Bass; 2007.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2538.
พัทธนันท์ ศรีครรธรักษ์ วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา และอาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์. การพัฒนาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์แบบมีส่วนร่วมในชุมชนตำบลบ้านค้อ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลาภู 2561; 8(พิเศษ) (ตุลาคม) : 230 – 40.
วิภาดา กาญจนสิทธิ์ และปัณณทัต บนขุนทด. ความรู้ทัศนคติของมารดาหลังคลอดปกติที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน หอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลบุรีรัมย์์ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย : โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา วันที่ 30 มีนาคม 2562. นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา; 2562.
ยุบล เบ็ญจรงคกิจ. ทฤษฎีการใช้สื่อและความพึงพอใจ. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์ จำกัด; 2542.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว