ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธณัศมณฑ์ ภาณุพรพงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, การคัดกรองมะเร็งเต้านม, ทฤษำีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรี  จังหวัดนครราชสีมา โดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับ ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ สตรีที่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุตั้งแต่ 30-70 ปี จำนวน 200 คน  ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 8 อำเภอ โดยวัดก่อนและหลังการทดลองใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะเวลาในการศึกษา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามด้านความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และแบบบันทึกการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยใช้สถิติ t-test for dependent

ผลการศึกษา พบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 83.3, การรับรู้ความรุนแรงเมื่อเป็นโรคมะเร็งเต้านม อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 73.3,  การรับรู้ประโยชน์ของการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 93.3  และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 86.7  เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้  การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์  ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม เปรียบเทียบหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.ข้อเสนอแนะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย; 2561

ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์ และวัลลภ ไทยเหนือ. คู่มือสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิถันยรักษ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี; 2547.

มาลัย มุคคารักษ์ และคณะ. แนวทางการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งเต้านมกรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สรุปผลการตรวจราชการ ปีงบประมาณ 2563. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2563.

จันทร์จิรา สีสว่าง และปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้ ทัศนคติและทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี. วารสารพยาบาลทหารบก 2556; 14(1): 17 – 24.

Rosenstock, Irwin M. Historical origins of the health belief model. Health Enducation Monographs 1974; 2(a) : 328 – 35.

House, J. S. The association of social retionship and activies with mortality : Community health study. American Journal Epidemiology 1981; 3(7) : 25 – 30.

เอมอร ชินพัฒนะพงศา และกนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2557; (28)3: 14 – 29.

จันทิรา ตุ้มภู่. ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงจูงใจในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยรุ่น ในเขตเทศบาลตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. (2554). [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://khoon. msu.ac.th/full164/juntira134636/titlepage.pdf

พัชนภา ศรีเครือดำ ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา และณัฐกมล ชาญสาธิตพร. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน จังหวัดสุรินทร์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27(3): 71 – 82.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์; 2549.

ณัฐณิชา แหวนวงศ์และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมป้องกันมะเร็งเต้า นมในสตรีกลุ่มแม่บ้านทำความสะอาด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2558; 35(1) (มกราคม– เมษายน) : 21 – 35.

นวรัตน์ โกมลวิภาต และน้ำอ้อย ภักดีวงศ. ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(4),68-78.

สุชาดา นนทะภา และรุ้งระวี นาวีเจริญ. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของครูในโรงเรียนประจำจังหวัดเขตภาคกลาง. วารสารเกื้อการุณย์ 2560; 24(2) : 23 – 35.

ดาริน โต๊กานิ บุญยิ่ง ทองคุปต์ และประดังพร ทุมมาลา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีที่มารับบริการในคลินิกวัยทองของโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2552; 1(1) : 12 – 25.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562; 26(3) กันยายน - ธันวาคม 2562 : 13 – 24.

เรวดี เพชรศิราสัณห์, นัยนา หนูนิล. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับสตรีวัยผู้ใหญ่. วารสารพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี 2553;16(1): 54 – 69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02