กลยุทธ์การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานประกอบการสร้างกลยุทธ์การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อพัฒนากลยุทธ์การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 และเพื่อประเมินกลยุทธ์การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 186 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลพื้นฐานประกอบการสร้างกลยุทธ์มี 5 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยภายนอกจำนวน 4 องค์ประกอบ (PEST) ปัจจัยภายใน จำนวน 4 องค์ประกอบ (4M) การจัดระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรค จำนวน 5 องค์ประกอบ แนวทางการป้องกันโรคติดต่อ จำนวน 6 องค์ประกอบ และ แนวทางการควบคุมโรคติดต่อ จำนวน 3 องค์ประกอบ กลยุทธ์ที่ได้ชื่อว่า 19-DIVOC STOP COVID-19 ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ จำนวน 4 ข้อ เป้าประสงค์ จำนวน 11 ข้อ กลยุทธ์ จำนวน 5 ข้อ มาตรการ จำนวน 19 ข้อ และตัวชี้วัดความสำเร็จ จำนวน 19 ข้อ ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า มีระดับมากทั้งภาพรวมและรายข้อ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ( ≥ 3.50)
References
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานประจำปี 2562. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2562. สำเนาอัด.
สำนักงานสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 :แนวปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในชุมชน. นนทบุรี : บ.สามดีพริ้นติ้งอีควิปเมนท์ จำกัด; 2563.
World Health Organization. Global strategic framework for integrated vector management. Geneva: WHO; 2004.
World Health Organization. Dengue: guidelines for diagnosis, treatment, prevention and control. New ed. Geneva : WHO; 2009.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ. การบริหารแผนงานเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐบาล. กรุงเทพฯ : ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
รังสรรค์ มณีเล็ก. การวางแผนกลยุทธ์และการจัดทำงบประมาณในสถานศึกษา. นนทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ; 2549.
วิฑูรย์ โล่สุนทร. ระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสาร; 2545.
อุทิศ ขาวเธียร. การวางแผนกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
Certo, Samcl C. & J. Paul Peter. Strategic Management: Concepts and Application. (2nd ed). Singapoec: Mcgrow – Hill; 1991.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3) : 607 – 10.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น; 2546.
John W. Best.Research in Education. (4th ed). New Jersey : Prentice – Hall Inc., 1981.
อัมพร จันทวิบูลย์ และ คณะ. การพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้ าระวังและตอบโต้ ความเสี่ยงฉุกเฉินเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(5) กันยายน - ตุลาคม 2563 : 897 – 909.
สำเริง แหยงกระโทก และคณะ. ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019:สำหรับเจ้าหน้าที่และ อสม. นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Jiawang and Zhifeng Wang.Department of Health Policy and Management, Peking University School of Public Health. China : Beijing 100191; 2020.
บุญเรือน ทองทิพย์. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563; 5 (11) (พฤศจิกายน 2563) : 439
พระเอกลักษณ์ อชิโต และคณะ. บทบาทพระสงฆ์กับงานสาธารณสงเคราะห์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid 19 : กรณีศึกษาบทบาทของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย วัดอินทาราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2563; 9 (3) กรกฎาคม-กันยายน : 289 – 304.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว