ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพฟันเทียม ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับความสุขในการใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก
คำสำคัญ:
คุณภาพฟันเทียม, ประสิทธิภาพการบดเคี้ยว, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ความสุขในการใช้ฟันเทียมบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพฟันเทียม ประสิทธิภาพการบดเคี้ยว คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และความสุขต่อการใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพฟันเทียม ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับความสุขในการใช้ฟันเทียม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปากที่โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบตรวจคุณภาพฟันเทียม แบบสอบถามการบริโภคอาหาร แบบสัมภาษณ์ดัชนี OIDP และแบบสัมภาษณ์ความสุขในการใช้ฟันเทียม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และสถิติอนุมาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากมากกว่าร้อยละ 60 มีฟันเทียมที่มีการยึดอยู่ที่เหมาะสม มีเสถียรภาพที่ดี มีความสูงและการสบฟันที่เหมาะสม ชนิดของอาหารที่ผู้สูงอายุมากกว่า ร้อยละ 80 สามารถเคี้ยวได้อย่างสบายได้แก่ ข้าวต้ม/โจ๊ก จับฉ่าย แกงจืด/ผักนึ่ง ข้าวสวย ไข่เจียว ปลานึ่ง อาหารที่ผู้สูงอายุร้อยละ 17 – 29 เคี้ยวไม่ได้เลย ได้แก่ ผัดผัก ฝรั่งและหมูทอด ผู้สูงอายุ ร้อยละ 58.7 มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับดี ถึง ดีมาก กิจกรรมที่ได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากที่สุดจากการใส่ฟันเทียมคือการรับประทานอาหาร ในด้านการใช้งานฟันเทียมพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ47.6 ใส่ฟันเทียมเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 63.5 ใส่ฟันเทียมทั้งเวลารับประทานอาหารและเมื่อออกไปพบปะผู้คน ตีความได้ว่าส่วนใหญ่มีความสุขในการใช้งานฟันเทียม การศึกษานี้พบว่าความสุขในการใช้งานฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับการยึดอยู่ของฟันเทียม ความเสถียรของฟันเทียม ความสูงของฟันเทียม การสบฟัน ประสิทธิภาพการบดเคี้ยว และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก
References
Institute Geriatric Medicine. Thai elderly database, Nonthaburi: Department of Health, Ministry of Public Health; 2006.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. นนทบุรี : สามเจริญพาณิชย์; 2561.
Maopome G, Gullion CM, White BA, Wyatt CC, Williums PM. Oral disorders chronic systemic dieases in very old adults living in institutions. Spec Care Dentist 2003; 23: 199 – 208.
Gerristen AE, Allen PF, Witter DJ, Bronkhorst EM, Creugers NH. Tooth loss and oral health-related quality of life: a systematic review and metal meta-analysis. Health Qual Life Outcomes 2010; 8: 126.
Glick M, Williams DM, Cleinman DV, Vujicic M, Watt RG, Weyant RJ. A new definition for oral health developed by the FDI World Dental Federation opens the door to a universal definition of oral health. J Am Dent Assoc 2016; 147(12): 915 – 7.
Locker D, Allen F. What do measures of “oral helth-related quality of life” measure? Community Dent Oral Epidermiol 2007; 35 (6): 401 – 11.
Sinavarat P, Ruchuwararak P. A follow-up study in complete denture wearers : 3-5 years after treatment. Mahidol Dent J 1997; 17: 61 – 8.
Songpaisan Y. Satisfaction and oral health related impact to quality of life of edentulous seniors after wearing complete dentures at Bangyai Hospital Nonthaburi. Thai J Health Promotion and Environmental Health 2007; 32: 31 – 45.
Felon MR, Sherriff M. Investigation of new complete denture quality and patients’ satisfaction with and use of dentures after two years. J Dent 2004; 32: 327 – 33.
Adulayanon S, Sheiham A. Oral Impacts on Daily Peformances. Measuring oral health and quality of life. Slade GD, editor: Chapel Hill: University of North Carolina; 1997.
Adulayanon S, Vourapukjaru J, Sheiham A. Oral impacts affecting daily performance in a low dental disease Thai population. Community Dent Oral Epidermiol 1996; 24(6): 385 – 9.
Srisilapanan P, Sheiham A. The prevalence of dental impacts on daily perfprmances in older people in Northern Thailand. Gerodontology 2001; 18(2): 102 – 8.
ณฤดี ลิ้มปวงทิพย์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ที่ใช้ฟันเทียมทั้งปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2562; 69(4): 369 – 78.
พิมพ์วิภา เศรษฐวรพันธุ์ ทรงชัย ฐิตโสมกุลและไพฑูรย์ ดาวสดใส. คุณภาชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากและความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปแบบภาษาไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2557; 64(1): 26 – 46.
Graham C. Happiness and health: lessons and questions for public policy. Health Affairs 2008; 27: 72 – 87.
Kunon N, Kaewplung O. Comparison of chewing ability of mandibular implant-retained overdenture patients using the subjective and the objective assessments. CU Dent J 2014; 37: 171 – 82.
Limpuangthip N, Somkotra T, Arksornnukit M. Modified retention and stability criteria for complete denture wearers: A risk assessment tool for impaired masticatory ability and oral health-related quality of life. J Prosthet Dent 2018; 120(1): 43 – 9.
Perea C, Suarez-Garcia MJ, Del Rio J, Torres-Lagares D, Montero J, Castillo-Oyague R. Oral health-related quality of life in complete denture wearersdepending on their socio-dermographic background, prosthetic-related factors and clinical condition. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2013; 18(3): 371 – 80.
Jacobson TE, Krol AJ. A contemporary review of the factors involved in complete denture retention, stability, and support. Part I: retention. J Prosthet Dent 1983; 49(1): 5 – 15.
ณฤดี ลิ้มปวงทิพย์ และแมนสรวง อักษรนุกิจ. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากหลังการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์: การศึกษาแบบไปข้างหน้าจากเหตุไปหาผล. ชม.ทันตสาร 2562; 40(3): 103 – 12.
ชัยรัตน์ ทับทอง. การประเมินความพึงพอใจและผลกระทบของฟันเทียมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2558; 20(2): 61 – 70.
นิพัทธ์ สมศิริ. สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุหลังใส่ฟันเทียมพระราชทานในมิติคุณภาพชีวิต. วารสารสุขศึกษา 2558; 38: 1 – 13.
อนงค์ ผุดผ่อง. ผลกระทบของสภาวะช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2557; 34(2): 49 – 5.
เบญจมาส สือพัฒธิมา. ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตภายหลังการใส่ฟันเทียมทั้งปากในโครงการฟันเทียมพระราชทานที่โรงพยาบาลโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556; 18(1): 36 – 48.
วิรัช บรรเจิดพงศ์ชัย. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลังใส่ฟันเทียมทั้งปากในโครงการ “ฟันเทียมพระราชทาน”. วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 2553; 25: 18 – 24.
รัชฎา น้อยสมบัติ. สถานภาพในช่องปากและผลกระทบของสถานภาพในช่องปากต่อสมรรถภาพในชีวิตประจำวันของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว