ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วม เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ สักกะโต สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) กระทรวงสาธารณสุข
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, คุณภาพสถานพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และระดับของกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล (2) ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข ที่สมัครเข้าร่วมเครือข่ายฯ ในปี พ.ศ. 2562 รวมทั้งสิ้น 640 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 246 คนมีผู้ตอบกลับ 231 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับของปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และระดับของกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมเครือข่าย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลพบว่า ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้าในงาน ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมเครือข่าย สำหรับปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ด้านนโยบายการบริหาร ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและด้านผลประโยชน์ตอบแทน ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมเครือข่ายฯ ดังนั้น การเชิญชวนบุคลากรสาธารณสุขเข้าร่วมกิจกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพ ควรคำนึงถึงลักษณะงานที่แสดงให้เห็นความท้าทาย มีเป้าหมายความสำเร็จที่ชัดเจน สนับสนุนให้รับผิดชอบและมีความก้าวหน้าในงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพที่ชัดเจน จัดกระบวนการส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานและให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของงานที่ได้รับมอบหมาย

References

สนธยา พลศรี. เครือข่ายการเรียนรู้ ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2550.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. HA Update 2019 : นนทบุรี. บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด; 2562.

Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York. Harper and Row Publications; 1973.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์ พริ้นท์; 2548.

วาสนา พัฒนานันท์ชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2553.

พรทวี เถื่อนคำแสน และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานระดับ ปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร 2559; 13(1): 1 – 23.

ภานุวัฒน์ ษารักษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานกับบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (มหาชน) จำกัด [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด; 2559.

ชนะพล ศรีฤาชา และณัฐธิมา ต่อศรี. แรงจูงใจของเภสัชกรที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพระบบบริการเพื่อมุ่งสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของฝ่ายเภสัชกรรมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558; 22(2): 1 – 10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28