การจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชน เทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ความปลอดภัยทางถนน, จุดเสี่ยง, อุบัติเหตุบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชน เทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีเทคนิคการประชาคม ประชุมกลุ่มย่อย สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม 2562 - มีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ฐานข้อมูลอุบัติเหตุจาก 3 แหล่ง ได้แก่ (1) สถานีตำรวจภูธรอุทุมพรพิสัย (2) โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย (3) ประธานชุมชน ผลการวิจัยตามกระบวนการมีดังนี้ กระบวนการที่ 1 สร้างความเป็นเจ้าภาพร่วม สร้างแรงบันดาลใจ สร้างทีม และสร้างแผนการปฏิบัติการพบว่า เกิดภาคีร่วมของการทำงานขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยแผนปฏิบัติการของโครงการคือเพื่อลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ กระบวนการที่ 2 สร้างกติกาชุมชน ค้นหา วิเคราะห์จุดเสี่ยง และแก้ไขจุดเสี่ยง พบว่า เกิดกติกาชุมชนที่ได้จากการประชาคมจำนวน 11 ข้อ ค้นหา วิเคราะห์จุดเสี่ยง และแก้ไขจุดเสี่ยง ซึ่งทั้งหมดเป็นจุดเสี่ยงที่ชุมชนสามารถจัดการเองได้ทั้ง 12 จุด ทำให้เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนน กระบวนการที่ 3 เฝ้าระวัง ถอดบทเรียนของโครงการ พบว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย โดยสามารถลดจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุจากก่อนมีโครงการ 11 ครั้ง ซึ่งหลังจากแก้ไขจุดเสี่ยงทั้ง 12 จุด แล้วเสร็จทำให้ไม่พบ การเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันและลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนโดยได้ยั่งยืน
References
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย สำนักแผนความปลอดภัย; 2562.
คณะกรรมการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการประชุมคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจังหวัดศรีสะเกษ. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จากhttp://www.sisaket.go.th/meeting _report /meeting/256210011103-nB.pdf.
วิชุดา เสถียรนามและคณะ. คู่มือจัดการจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.); 2559.
สิรินทร นรินทร์ศิลป์ ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และพรชัย จันทร์ถาวร. การส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนเพื่อการเจริญเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืน.วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง 2554; 8(2): 51 – 68.
ศิวพงศ์ ทองเจือ. กระบวนการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนด้วยพลังภาคีเครือยข่ายจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 2562; 11(2): 170 – 87.
ปิยะพงษ์ บุษบงก์. การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนแบบปรึกษาหารือ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คอมม่อนบุ๊คส์; 2560.
ภูวดล พลศรีประดิษฐ์ และมะลิ โพธิ์พิมพ์. การจัดการจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนชุมชนเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสร์ทอง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2561; 4(1): 66 – 76.
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. เครื่องมือ 5 ชิ้นที่ทำให้การขับเคลื่อนกลไก ศปถ.ไปสู่ผลลัพธ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.); 2561.
สุรพล เหลี่ยมสูงเนิน. โครงการการพัฒนาทักษะด้านการบริหารงานสร้างเสริมสุขภาพให้แก่บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.); 2553.
นิวัช สร้อยมาลี. การศึกษาจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุภายในพื้นที่ตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี; 2556.
ธีรยุทธ์ ลีโคตร สีดา สอนศรีและยุพา คลังสุวรรณ์. บทบาทของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษาบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. การเมืองการปกครอง 2558; 5(2) มีนาคม-สิงหาคม 2558: 112 – 29.
กาญจนา เลิศวุฒิ วันเพ็ญ โพธิยอด และชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2561; 14(1): 46 – 59.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว