ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารการเงินการคลังของ หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ อยู่สำราญ กองตรวจราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ, การบริหารการเงินการคลัง

บทคัดย่อ

บริหารการเงินการคลังและสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการสาธารณสุขสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 9 ประจำปี 2563 ตาม 5 มาตรการสำคัญใน การบริหารการเงินการคลัง ของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการในสังกัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้อำนวยการโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขใน เขตสุขภาพที่ 9 ทั้งหมด 89 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และการใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในรูปแบบ step ladder & k โรงพยาบาลที่มีประชากรน้อยกว่า 30,000 คน ควรได้จัดสรรงบช่วยเหลือเพิ่ม ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลทางบัญชี โดยการพัฒนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ วางแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) เชื่อมต่อกับแผนพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (business plan) ทุกหน่วยบริการมีการควบคุมกำกับโดยเปรียบเทียบแผนทางการเงิน (planfin) และควบคุมด้านรายรับรายจ่ายโดยเกณฑ์ประสิทธิภาพทางการเงิน (7plus efficiency) ต้นทุนผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน (unit cost) มีการตรวจสอบภายในและควบคุมภายใน ผลการวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง ข้อมูล ณ ไตรมาส ที่ 4/2563 พบว่า เขตสุขภาพที่ 9 ไม่มีหน่วยบริการใดประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินระดับ 7 พบสูงสุดที่ระดับ 4 และระดับ 3 ระดับละ 1 แห่ง (ร้อยละ 1.12) และระดับ 2 จำนวน 3 แห่ง (ร้อยละ 3.37) ข้อเสนอเชิงนโยบาย (1) ควรมีการกันเงินฉุกเฉินไว้ช่วยเหลือ (2) กระทรวงควรกระจายอำนาจให้เขตการบริหารจัดการเองทั้งหมดเพื่อการเปลี่ยนแปลงสนับสนุนการทำงานของเขตสุขภาพ (regulatory sandbox)(3)ใช้แผนทางการเงิน เป็นเครื่องมือในการกำกับ ติดตามอย่างใกล้ชิด

References

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญสุขภาพของคนไทย ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ; 2545.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2561.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2562.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2563.

เขตสุขภาพที่ 9. รายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลังเขตสุขภาพที่ 9 ประจำปี 2561. นครราชสีมา : เขตสุขภาพที่ 9; 2561. สำเนาอัด.

เขตสุขภาพที่ 9. รายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลังเขตสุขภาพที่ 9 ประจำปี 2562. นครราชสีมา : เขตสุขภาพที่ 9; 2562. สำเนาอัด.

เขตสุขภาพที่ 9. รายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลังเขตสุขภาพที่ 9 ประจำปี 2563. นครราชสีมา : เขตสุขภาพที่ 9; 2563. สำเนาอัด.

เขตสุขภาพที่ 9. เอกสารสรุปผลการตรวจราชการ เขตสุขภาพที่ 9 รอบที่ 1 ปี 2563. นครราชสีมา : เขตสุขภาพที่ 9; 2563. สำเนาอัด.

ชฎาภรณ์ ชื่นตา และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลัง ของโรงพยาบาลจังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2) มีนาคม – เมษายน: 157.

อุดมศรี วงศ์บุญยกุล. ประสิทธิภาพการบริหารการเงิน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2558; 29(3) กรกฎาคม – กันยายน: 412.

ชูชัย ศรชำนิ. กลยุทธ์การบริหารการเงินการคลังภาคบริการสุขภาพ. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www. Slideshare.net /chuchaiSornchamni

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. รูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556; 30(2) เมษายน – มิถุนายน: 117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28