แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชนกพร ผลทรัพย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวทาง, ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์, การประเมินผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ปัจจุบันกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ และแนวทางการสร้างภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามบุคลากรที่ปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 424 การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน การสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 จำนวน 15 คน และการสนทนากลุ่มครั้งที่ 2 จำนวน 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) บุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี สถานภาพสมรส ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ สถานภาพการทำงานเป็นข้าราชการ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 25,001 – 30,000 บาท ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับความพึงพอใจระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.02, S.D. =.65) ส่วนความต้องการโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับต้องการมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.31, S.D. =.69) และโดยภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาที่ระดับเห็นด้วยมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.15, S.D. =.68) (2) กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์สามารถอธิบายได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดวัตถุประสงค์กำหนดรูปแบบหรือวิธีการ ดำเนินการตามแผน ประเมินผล และสรุปผล การนำกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) เข้ามาผนวกในการดำเนินงาน (3) แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา คือ MCSEP Model คือ (3.1) ผู้บริหารต้องคอยเน้นย้ำการสร้างภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ (Manager) (3.2) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาต้องมีช่องทางในการสื่อสารกันภายในองค์กร (Communication) (3.3) ทุกกลุ่มงานหรือทุกฝ่ายต้องให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว (Service) (3.4) อาคารสถานที่สะอาด ร่มรื่น อากาศถ่ายเท และเป็นองค์กร Smart office (Environment) (3.5) บุคลากรต้องให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามแนวทางการสร้างภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา (Personnel) แนวทางฯ ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม สามารถใช้งานได้จริง ข้อเสนอแนะควรนำ MCSEP Model ไปขยายผลต่อในระดับพื้นที่

References

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2559.

Boulding K. E. The Image : Knowledge in Life and Society. Michigan: The University of Michigan; 1975.

Gregory, James R, and Jack G Wiechmann. Marketing Corporate Image: The Company as Your Number One Product. Lincolnwood: NTC Business Books; 1991.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ประวัติความเป็นมาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2563.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

อารี เพชรผุด. มนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์; 2530.

Gilmer, V. B.Industrial and Organization Psychology. New York: McGraw-Hill; 1967.

Bernays, E. L.Your Future in Public Relations. New York: Richard Rosen Press; 1961.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. CEO PR & IMAGE. กรุงเทพฯ: ฐานมีเดีย เน็ตเวิร์ค; 2548.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตาม รัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม; 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02