การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมพวง โดยใช้หลักการพื้นฐานของลีนและการเว้นระยะห่างทางกายภาพ
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริการ, หลักการพื้นฐานของลีน, ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, การเว้นระยะห่างทางกายภาพ, ระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบทคัดย่อ
วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรและผู้รับบริการ โดยใช้กรอบแนวคิดหลักการพื้นฐานของลีนและการเว้นระยะห่างทางกายภาพประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) บุคลากร (2) ผู้ป่วยและญาติ โดยใช้เครื่องมือ (1) ระบบการให้บริการผู้ป่วย (2) แบบประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการและของบุคลากรมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.77 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ปัจจัยด้านบุคคล โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจก่อนและหลังพัฒนาระบบ โดยใช้สถิติทดสอบindependent t-test
ผลการศึกษา หลังใช้ระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวคิดหลักการพื้นฐานของลีนและ การเว้นระยะห่างทางกายภาพโดยจัดที่นั่งรอตรวจให้มีระยะห่างของที่นั่งเฉลี่ยอย่างน้อย 1 เมตร พบว่า ขั้นตอนการให้บริการลดลง ระยะเวลาให้บริการลดลง ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจสูงกว่าก่อนการปรับปรุง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p<.000 ข้อเสนอแนะ (1) ควรนำเสนอผลการวิจัยในที่ประชุมสหวิชาชีพเพื่อใช้ข้อมูลในการพัฒนาแต่ละแผนกที่เกี่ยวข้องต่อไป (2) ควรปรับปรุงป้ายคำแนะนำการบริการในโรงพยาบาลเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
References
Centers of Disease Control and Prevention.Social Distancing. [online]. (2020). [cited 2020 July 20].Available from: https://www.cdc.gov/ coronavirus/ 2019-ncov/prevent-getting-sick/social-distancing .html
Garg, S., Basu, S., Rustagi, R. & Borle, A. Primary Health Care Facility Preparedness for Outpatient Service Provision During the COVID-19 Pandemic in India: Cross-Sectional Study. JMIR Public Health Surveil. [online]. (2020). [cited 2020 July 20]; 6 :1-7. Available from: https://publichealth.jmir.org/2020/2/e 19927/doi: 10.2196/19927
ปฐมพร ศิรประภาศิริ และสันติ ลาภเบญจกุล. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.
นลิน จรุงธนะกิจ.ผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (โควิด-19) โรงพยาบาลไทรงาม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563; 36 : 129 - 42.
สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562.กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ13 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก : http:// dmsic.moph.go.th/index/detail/8297
สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561.กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ13 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก : http:// dmsic.moph.go.th/index/detail/7892
รายงานประจำปีแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาลชุมพวง; 2562.
ระบบตรวจสอบประวัติผู้ป่วย/ผู้รับบริการข้ามหน่วยงาน.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ 7 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://nma.hdc. moph.go.th/hdc/
ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลชุมพวง. ข้อมูลข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ.นครราชสีมา:โรงพยาบาลชุมพวง. สำเนาอัด; 2563
งานแผนยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลชุมพวง.อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกทุกสิทธิ์. นครราชสีมา: โรงพยาบาลชุมพวง.สำเนาอัด; 2563.
งานแผนยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลชุมพวง.รายงานประจำปีแผนกเวชระเบียน.นครราชสีมา:โรงพยาบาลชุมพวง. สำเนาอัด; 2563.
Lean Management Principles. [online]. (2022). [cited 2022 March 20].Available from: Advancement of culture development (kple.eu)
ปริญดา จันทร์บรรเจิด บุษรา วาจาจำเริญ จิราพร คำแก้ว และคณะ.ผลการออกแบบระบบงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยการลดความสูญเปล่าในระบบบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2555; 4: 162 – 6.
อุไรวรรณ วรรณศิริ. ศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนกับภาคบริการทางการแพทย์เพื่อลดความสูญเปล่าของระบบ: กรณีศึกษาแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลตติยภูมิ.วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 2562; 3 : 75 – 85.
นฤมล ไชยวารีย์,ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ และบุญพิชชา จิตต์ภักดี.การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อ ปรับปรุงกระบวนการให้บริการคลินิก โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.วารสารสภาการพยาบาล 2563; 4: 112 – 27.
เสาวลักษณ์ มนูญญา. ผลการจัดบริการพยาบาลผ่าตัดตามแนวคิดลีนต่อระยะเวลาการรอคอยและความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก.วารสารพยาบาลตำรวจ 2560; 1 : 72 – 81.
ประภา ราชา, จารุภา คงรสและธนพร สดชื่น.การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19. วารสารแพทย์เขต 4 2563; 3 : 414 – 26.
พันธิภา พิญญะคุณ อารี ชีวเกษมสุข และเพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน.วารสารพยาบาลทหารบก 2560; ฉบับพิเศษ: 280 – 90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว