การประเมินผลตามมาตรฐานการศึกษาชาติโดยการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ในรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1
คำสำคัญ:
มาตรฐานการศึกษาชาติ, การสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลตามมาตรฐานการศึกษาชาติโดย การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน การเรียนรู้ในรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 134 คน ที่เรียนภาคทฤษฎีรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1 จัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วางแผน/เตรียมการ ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติทดสอบทีแบบข้อมูล 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t-test) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาชาติก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน การเรียนรู้ในรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1 มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.32, S.D.= .36) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านพลเมืองที่เข้มแข็ง มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด คือ (x ̅ = 4.56, S.D.= .41) รองลงมาคือ ด้านผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x ̅ = 4.34, S.D.= .36) และ ด้านผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x ̅ = 4.14, S.D.= .44) ข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การเรียนรู้ช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาชาติได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงควรสนับสนุนและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาลต่อไป
References
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560). เอกสารอัดสำเนา; 2560.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2561. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก www.moe.go.th/มาตรฐานการศึกษาของชาติ.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 2561; 11(3): 179 – 91.
Knight AL, Adelman AM. The family physician and home care. Am Fam Physician 1991; 44(5): 1733 – 37.
วิจารณ์ พานิช. การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. นครปฐม: บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด; 2557.
Helen Yura. The Nursing Process Helen Yura, Mary B. Walsh: Assessing, Planning, Implementing, Evaluating: Appleton & Lange; 1988.
ภูษนิศา มีนาเขตร และศิริทรัพย์ สีหะวงษ์. ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการใช้ Courseville ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2562; 25(1): 74 – 87.
ปิ่นนเรศ กาศอุดม จุฬาวลี ชัยวงค์นาคพันธ์ปริมล หงษ์ศรี และคณะ. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักแบบชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี 2562; 46(2): 300 – 18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว