ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พลอยปารียา อายะนันท์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพศึกษา วิทยาลัยเชียงราย
  • ตุนท์ ชมชื่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพศึกษา วิทยาลัยเชียงราย
  • ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพศึกษา วิทยาลัยเชียงราย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเกิดโรคอ้วน, โรคอ้วน, ปัจจัย, นักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วน ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ตามกรอบแนวคิด PRECEDE Model กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนหญิงและชายที่มีอายุระหว่าง 15 – 18 ปี ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จาก 4 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 404 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน แบบสอบถามเจตคติต่อโรคอ้วน แบบสอบถามการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบสอบถามพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วนตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ผลดังนี้ 0.81, 0.91, 0.88, 0.85, 0.80 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วนในระดับเสี่ยงน้อยและปัจจัยนำไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วน ปัจจัยเอื้อด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วน (r = .32, p < .01) และปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วน (r = 0.29, p < .01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. แผนพัฒนาสถิติสาขาสุขภาพฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557–2558. คณะอนุกรรมการสถิติสาขาสุขภาพและคณะทำงานสถิติด้านสุขภาพ; 2558.

สำนักโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนพิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.รายงานประจำปี 2560 กรมอนามัย : สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยยึดชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายงานประจำปี 2561 : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน; 2561.

อดิษา สังขะทิพย์ และสวุลี โล่วิรกรณ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2560; 19(1) มกราคม–เมษายน : 178 – 89 .

รักมณี บุตรชน และคณะ. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ :โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2560.

สุนทรี รัตนชูเอก และคณะ.แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก พ.ศ. 2557. ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2557.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยยึดชุมชนเป็นฐานชุมชนลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ฉบับปรับปรุง :ครั้งที่ 1 พิมพ์ 2561.กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.รายงานประจำปี2561สำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ออนไลน์]. (2560).[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://online.anyflip.com/dwnyn/bhf/mobile/index.html.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย.รายงานประจำปี 2561. งานระบาดวิทยากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. เชียงราย : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย; 2562.

Green,L.W., & Kreuter, M. W. Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield; 2005.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : B & B Publishing; 2543.

พรประภา ขุนวิชิต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูง และเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทยอายุ1วัน-19 ปี. [ออนไลน์]. (2542). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์2562].เข้าถึงได้จากhttp://www.rajini.ac.th/ nurse/test.pdf.

Bloom, B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2547.

ปกรณ์ประจัญบาน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์; 2552.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.การสำรวจสภาวะทางสังคมวัฒนธรรมและสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทยผลกระทบและแนวทางแก้ไข.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 1 มกราคม - มิถุนายน 2560 ; 28: 122 – 28.

ศศิธร ตันติเอกรัตน์ และอภิชัย คุณีพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนรัฐบาล. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 7(3): 272 – 79.

สุทธิชา สายเมือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ 2559; 12 : 706 – 20.

วรรณภา เล็กอุทัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข2554; 5(3) : 299 – 306.

ไฉไล เที่ยงกมลและคณะ.พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6.วารสารพยาบาลตำรวจ 2558; 7(2) กรกฎาคม-ธันวาคม: 1 – 15.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

สุภาพร พรหมดี.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. Kasetsart Journal of Social Scienes 2560; 1 (38) มกราคม – เมษายน : 435 – 44.

วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. การสร้างเสริมสุขภาพในสถานศึกษา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2561; 11(2) : 1 – 11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02