การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จตุรงค์ ปานใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ, การประเมินผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ (2) การพัฒนากระบวนการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ (3) การพัฒนากระบวนการนำยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพไปสู่การปฏิบัติ (4) การพัฒนากระบวนการควบคุม กำกับ และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ และ(5) การประเมินผลกระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรสาธารณสุขที่มีเกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าสถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ ประจำปี 2562 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ (2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุง แก้ไขเนื้อหาสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ และกำหนดตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ (3) การพัฒนากระบวนการแปลงแผนยุทธศาสตร์สู่แผนปฏิบัติ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ (3.1) เน้นการออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับระดับสถานบริการตาม Service Plan จังหวัดนครราชสีมา (3.2) ดำเนินการโดยหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกระดับ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี (3.3) การถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์สู่ผู้ปฏิบัติ เช่น จัดทำคู่มือแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ ของจังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2562 เป็นต้น (4) การพัฒนาระบบการประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ โดยการประเมินผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตามแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 ครั้ง (5) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพในระดับจังหวัด มีงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงจากแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ ปี 2562 ทั้งระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล เชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์สู่แผนปฏิบัติการโดยใช้หลักการตามกรอบ Six building blocks มีผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของเขตสุขภาพที่ 9 บรรลุเป้าหมายร้อยละ 93.02 มีผลงานเป็นอันดับที่ 1 ของเขตสุขภาพที่ 9

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (ด้านสุขภาพ) พ.ศ.2560 - 2579. นนทบุรี : สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9. แผนยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ ฉบับที่ ปีงบประมาณ 2560 – 2564. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2559.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.

Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (6th Eds.). Singapore: John Wiley & Sons; 1995.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ทะเบียนบุคลากร. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2561.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสาหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

วิโรจน์ สารรัตนะ. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์; 2550.

จิรประภา อัครบวร. ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ; 2552.

จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2546.

Edward’s W. Deming Institute. The PDSA Cycle systemic: steps for gaining valuable learning and knowledge for the continual improvement of a product or process. New York: Theories & Teachings; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02