ผลการจัดการด่านชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สมบูรณ์ จิตต์พิมาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ด่านชุมชน, อุบัติเหตุทางถนน, การมีส่วนร่วม, หลัก 4S, หลัก SARIME

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทาง การจัดการด่านชุมชน และศึกษาผลการจัดการด่านชุมชนในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ในพื้นที่ 5 ตำบล เก็บข้อมูลวิจัยตามเวลา 4 ช่วงของวันหยุดยาวต่อเนื่อง แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มผู้ขับขี่ยานพาหนะ เครื่องมือที่ใช้เป็นทั้งเครื่องมือเชิงกระบวนการ และเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการด่านชุมชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน คือ หลัก “4S” และ “SARIME” พบว่า ทั้ง 5 พื้นที่มีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับดีมาก และด้านผลการจัดตั้งด่านชุมชนพบว่า มีจำนวนการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 180 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 187 คน ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เป็นจักรยานยนต์ ซึ่งพบถึงร้อยละ 82.8 ด้านพฤติกรรมผู้ขับขี่และผู้โดยสารพบว่า ผู้ขับขี่ร้อยละ 17.8 มีอาการเมาสุราเช่นเดียวกับผู้โดยสาร ผู้ร่วมเดินทางซึ่งพบร้อยละ 27.5 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ขับขี่ร้อยละ 23.3 และผู้โดยสารร้อยละ 38.0 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยหรือสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ และร้อยละ 40.3 ขับรถเร็วหรือมีพฤติกรรมขับขี่ที่อันตราย อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ถูกเรียกตรวจและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้ถูกดำเนินการทั้งในรูปแบบมาตรการทางสังคม และมาตรการทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การจัดการด่านชุมชนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งการสร้างพฤติกรรมการขับขี่ที่ถูกต้องของผู้ขับขี่และผู้โดยสารยังคงเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ทั้งนี้ การวิจัยครั้งต่อไปจำเป็นต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมในการพัฒนาพฤติกรรมการขับขี่ที่ดีของประชาชนในอนาคต

References

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. สถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ปี พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. (2562) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www. thairsc.com/p77/index. htm?provid

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังน้ำเขียว. รายงานการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ปี 2562. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังน้ำเขียว; 2562.

KASIDIS SATANGMONGKOL. รีวิวสูตรคำนวณจำนวนตัวอย่างของ อ.Taro Yamane. [ออนไลน์]. (2562) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https:// datarockie.com/2019/08/23/Yamane–sample -size-calculation/

ณัฐกานต์ไวยเนตร. การขับเคลื่อนการดาเนินงานมาตรการชุมชน(ด่านชุมชน) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2558. [ออนไลน์]. (2562) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก www.thaincd.com/document /file/info/injured/การตั้งด่านชุมชนสงกรานต์2558.pdf.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. แนวทาง / คู่มือการจัดตั้งด่านชุมชน. ม.ป.ท.; 2564.

โชติรส นพพลกรัง ณัฐกร โต๊ะสิงห์ และ ทิพย์สุดา กุมผัน. การจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชน เทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563; 6(2): 170 – 83.

ภูวดล พลศรีประดิษฐ์ และมะลิ โพธิ์พิมพ์. การจัดการจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนชุมชนเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสร์ทอง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2561; 4(1): 66 – 76.

สมร นุ่มผ่อง ขนิษฐา ศรีวันทา ภัทรสว่างดี และพวงเพชร กฤษหมื่นไวย. การประเมินผลด่านชุมชนเพื่อลดอุบัติเหตุการจราจรทางถนน เขตสุขภาพที่9 ช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ. 2561. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2562; 25(3): 76 – 86.

สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ. บทความเพื่อความปลอดภัยทางถนน. [ออนไลน์]. (2563) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.accident.or.th/index.php/ 2017-11-03-04-01-18/245-2020-07-22-09-18-53

สาธนิตย์ ทองหนูนุ้ย และ ปราณี. แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่ปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง. [ออนไลน์]. (2563) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://data.ptho. moph.go.th/ptvichakarn63/uploads/24281_0801_20200817220909.pdf

รัชสถิต สุจริจ ชมพูนุท โมราชาติ และสุรีย์ ธรรมิกบวร. แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2558; 6(2) : 173 – 86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02