พัฒนาระบบบริหารจัดการคลังวัสดุ กรณีศึกษา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
คำสำคัญ:
ระบบบริหารข้อมูล, ระบบคลังวัสดุ, ระบบฐานข้อมูล, เว็บแอพพลิเคชั่นบทคัดย่อ
วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการวัสดุ กรณีศึกษา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาความต้องการวิเคราะห์เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน (2) ออกแบบพัฒนาระบบ (3) ทดสอบประเมินผลการพัฒนาระบบ บันทึกข้อผิดพลาดเสนอวิธีแก้ไขปรับปรุง (4) ปรับปรุงคุณสมบัติประเมินคุณภาพการใช้งานระบบ ผู้วิจัยได้กำหนดเครื่องมือในการศึกษารวบรวมข้อมูลด้วย การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฝ่ายวัสดุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยได้รวมรวบความต้องการ ศึกษาความเป็นไปได้จากเทคโนโลยีที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมาใช้งานในปัจจุบัน สรุปเป็นรายการในรูปแบบตารางโดยใช้เอกสารแสดงความสัมพันธ์ความต้องการและผลการทดสอบ (requirements traceability matrix) ส่งผลให้การออกแบบและการพัฒนามีความครบถ้วนเชื่อมโยงหัวข้อการทดสอบประเมินผลการพัฒนาระบบ (test case) เมื่อเกิดข้อผิดพลาดจะมีการบันทึกและเสนอวิธีแก้ไขตามลำดับด้วยทฤษฎี SDLC (V-Shaped life cycle) พบว่าภาพรวมของผู้ใช้งานระดับเจ้าหน้าที่วัสดุมีความคิดเห็นเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .81 ซึ่งอยู่ในระดับดี ภาพรวมผู้ใช้งานระดับผู้ใช้งานมีความคิดเห็นเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .91 ซึ่งอยู่ในระดับดี ภาพรวมผู้ใช้งานระดับผู้ดูแลระบบมีความคิดเห็นเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .83 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการบูรณาการจนก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ผ่านกระบวนออกแบบพัฒนา ทดสอบการใช้งาน บันทึกข้อผิดพลาด กำหนดรายละเอียดแก้ไขปรับปรุง การพัฒนาระบบ โดยนำคำแนะนำมาสรุปไว้ในเอกสาร (term of Reference : TOR) เพื่อเป็นการพัฒนาต่อไปในอนาคต
References
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. การพัฒนาโปรแกรมบริหารคลังวัสดุ Phase 1; รายงานการประชุมเพื่อทบทวนแผนงานประจำปี 2564; 2 มิถุนายน 2564; ระบบประชุมทางไกล (Tele Conference); นครราชสีมา; 2564.
ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ อริยะ บุญงามชัยรัตน์ และไผท จุนทะเกาศลย์. แผนยุทธศาสตร์ การวิจัยและพัฒนาด้านป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพของประเทศไทย พ.ศ.2560–2564. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2559.
วรพจน์ ฉายจรุง จิรวัฒน์ ตั้งวันเจริญ และ สุเมท สุภัทรจำเนียร. การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วย QRCODE กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 4 2562; 61 – 62.
Kumar Pal., SDLC V - Development Phases Testing Phases. [online]. (2021). [cited 2021 July 14]: Available from URL://https://geeksforgeeks.org/software-engineering-agile-development-models
MySQL 8.0 Release Notes., Changes in MySQL 8.0.28. [online]. (2022). [cited 2022 Jul 18]; (General Availability) Available from URL://https:// dev.mysql. com/doc
Abbas M., Rioboo R., Ben-Yelles CB., & Snook CF. Formal modeling and verification of UML Activity Diagrams (UAD) with FoCaLiZe. Journal of Systems Architecture. [online]. (2021). [cited 2021 Jul 15]; 114: 1-14. Available from URL://https://doi.org/10.1016/j.sysarc.2020.101911
Sturm R., Pollard C., & Craig J. Application Performance Management (APM) in the Digital Enterprise. Managing Applications for Cloud, Mobile, IoT and eBusiness. [online]. (2017). [cited 2021 Jul 10]: 137-150. Available from URL:// https://doi.org/10.1016/B978-0-12-804018-8.00011-5
Mirtalebi M. MBD and Requirements Model. Embedded Systems Architecture for Agile Development. [online]. (2017). [cited 2021 Jul 15]: 183-205. Available from URL://https:// www.researchgate. net/publication/320590323_MBD_and_Requirements_Model
Kesteren AV. DOM Living Standard. [online]. (2021) [cited 2021 Jul 29]. Available from URL://https://dom.spec. whatwg.org/
Kesteren AV. HTML Living Standard. [online]. (2021). [cited 2021 Jul 29]. Available from URL:// html. Spec . whatwg.org/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว