การพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • มะลิ โพธิพิมพ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พงศ์ภัทร ภิญโญ โรงพยาบาลสีคิ้ว
  • ธมณ กลิ้งทะเล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิต, อาหารปลอดภัย

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิต พัฒนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรตามมาตรฐานอาหารปลอดภัย และพัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานอาหารปลอดภัยที่ได้รับจากเครือข่ายเกษตรกรสู่โรงพยาบาลสีคิ้ว กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน  30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย ได้แก่ กลุ่มงานโภชนาการศาสตร์เกษตรกร นักวิชาการเกษตร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ผู้ป่วย พระสงฆ์ และประชาชน เครื่องมือที่ใช้คือแบบคำถามสนทนากลุ่มย่อย เก็บรวบรวมข้อมูล เดือน เมษายน 2562 ถึง มีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ และเชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ผลิตวัตถุดิบอาหารปลอดภัยตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมีอยู่ในคุณภาพดี ดินมีความเป็นกรดเล็กน้อย ผัก ผลไม้ มีสารเคมีปนเปื้อนในระดับปลอดภัย (ร้อยละ 77.3)  รูปแบบโซ่อุปทานแบบใหม่ เพื่อส่งสินค้าเกษตรตามมาตรฐานอาหารปลอดภัย เข้าสู่โรงพยาบาลสีคิ้ว มีกระบวนการหลัก 9 กิจกรรม ได้แก่ (1) การวางแผนตารางการเพาะปลูก (2) การจัดหาวัตถุดิบในการเพาะปลูก (3) การจัดหาลูกไร่ (4) การเพาะปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิต และสุ่มตรวจสารเคมี (5) การจัดส่งผลผลิตจากเกษตรกรไปยังกลุ่ม (6) การรวบรวมโดยกลุ่ม (7) การจัดส่งผลผลิตไปยังโรงพยาบาล (8) การวางแผนการสั่งซื้อผลผลิตของโรงพยาบาล (9) การสั่งซื้อผลผลิตจากเกษตรกร การพัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานอาหารปลอดภัยจากเครือข่ายเกษตรกรสู่โรงพยาบาลสีคิ้ว มี 27 ข้อ แบ่งเป็น 3 หมวดได้แก่ หมวดผู้ผลิต หมวดจำหน่ายผลผลิต  และหมวดผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อให้โรงพยาบาลดำเนินงานตามนโยบายให้มีประสิทธิผล ควรมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

References

หนังสือพิมพ์ The Nation. Food poisoning becoming a major problem. [ออนไลน์]. (2552). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaivisa.com/ forum/topic/245579-food-poisoning-becoming-a-major-problem/

กองบริหารการสาธารณสุข.มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3 นนทบุรี: บอร์นทูบี พับลิชชิ่ง; 2561

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการอาหรปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์ ; 2562.

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำหรับแรงงาน นอกระบบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.[ออนไลน์]. (2563) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http:// envocc.ddc.moph.go.th/uploads/galleries3/202105/pdf /20210507_ 02.pdf

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ผักผลไม้ปนเปื้อนสานพิษ ประจำปี 2563. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https: //thaipan.org/highlights/2283

กระทรวงสาธารณสุข.มาตรฐานอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล (ฉบับกระทรวงสาธารณสุข) นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557

กระทรวงสาธารณสุข. สธ.ตั้งเป้าโรงพยาบาลในสังกัดเป็นโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย 100%. [ออนไลน์]. (2562) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday .com/6-8/

ยรรยงค์ อินทร์ม่วงและคณะ. รายงานการวิจัย การศึกษาเครือข่ายอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล. [ออนไลน์]. (2550). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://kb.hsri.or.th/ dspace/handle/ 11228/648?locale-attribute=th

Hancock, Trevor. Creating Health and Health Promoting Hospitals : A Worthy Challenge for The Twenty- first century. International Journal of Health Care Quality Assurance1999; 12 : 81- 90.

เฉลิมชาติ แจ่มจรรยา และคณะ. การประยุกต์ ใช้ระบบ HACCP ในการควบคุมความสะอาด ปลอดภัยในกระบวนการผลิตอาหารของครัวโรงพยาบาล : กรณีศึกษา โรงพยาบาล พระนครศรีอยุธยา. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2541.

สุวิมล กีรติพิบูล. ระบบประกันคุณภาพด้านควมปลอดภัยของอาหาร HACCP. สํานักพิมพ์ ส.ส.ท., 2546.

Hamprecht, Jens and Denial Corsten. Controlling the Sustainability of food supply chains. Supply Chains Management : International Journal2005; 10: 43 – 55.

Manning, L and R.N.Baines S.A.Chadd. Quality Assureance Models in the Food Supply Chain. British Food Journal2006; 108 : 35 – 47.

กฤษฎา หาญบรรเจิด และเกียรติศักดิ์ แหลมจริง. ผลการประเมินโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย .วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14 : 45 – 55.

McFadden, Kathleen L. and N. Gregory stock. Implementation of Patient Safety Initiative in Hospital. International Journal of Operation and Production Management 2006; 26 : 31 – 43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02