ผลของโปรแกรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ของ อสม.หมอประจำบ้าน อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

-

ผู้แต่ง

  • มนัสพงษ์ มาลา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคไข้มาลาเรีย, อสม. หมอประจำบ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียของ อสม.หมอประจำบ้าน อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น อสม.หมอประจำบ้าน อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 116 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียใช้สถิติเชิงพรรณา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การปฏิบัติตนในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบที

ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.40 มีอายุเฉลี่ย 48.31 ปี และมีการศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 52.60 ส่วนผลของโปรแกรมหลังจากการทดลองใช้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยก่อนเข้าโปแกรมมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียอยู่ในระดับพอใช้ และหลังเข้าโปรแกรมอยู่ในระดับดี โดยสรุปโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเพิ่มระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรียของ อสม.หมอประจำบ้านได้ และสามารถนำไปใช้เพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานของ อสม.หมอประจำบ้าน ด้านป้องกันควบคุมและกำจัดโรคมาลาเรียได้

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 9]. เข้าถึงได้จาก http://malaria.ddc.moph.go.th /malariaR10/index_v2.php

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. สถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย เขตสุขภาพที่ 9. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 9]. เข้าถึงได้จาก http:// 103.40 .150.228/srr506ko/index.php

กองสุขศึกษา. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 7 – 14 ปี และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2561.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T.Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

ลำพูน วรจักร และพุทธิไกร ประมวล. ผลของการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรค

ไข้มาลาเรียของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2563; 3(3): 175 – 86.

กองสุขศึกษา. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสุขภาพของ คนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ.2ส.. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและกาจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดาริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: กองโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2564.

ประมวล เหลาทวี และพัชนี จินชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2557; 1(1): 111 – 90.

จุพามณี กันกรุง. การศึกษาความฉลาดทางสุขภาวะของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27