ผลของโปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน : กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ชินสมพล คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ณัฐวุฒิ กกกระโทก คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • นิพาวรรณ์ เเสงพรม คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ปภาดา เมธีวรรณกุล คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน, การป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน, โปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุ

บทคัดย่อ

  การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน: กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา คือ พนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน  ที่ได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุก บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันและแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 ,0.80,0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired samples t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน มีความรู้ มีทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน มีค่าเฉลี่ยดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน ทำให้พนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับรถบรรทุกน้ำมันเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานวิจัยครั้งต่อไปควรเพิ่มกลุ่มควบคุมในการทดลอง เพื่อพัฒนาให้งานวิจัยเพิ่มความน่าเชื่อถือและนำไปป้องกันอุบัติเหตุจากการขับรถบรรทุกน้ำมันต่อไป

References

ทวิดา กมลเวชช. คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ สถาบัน พระปกเกล้า; 2554.

กลุ่มสถิติการขนส่งกองแผนงานกรมการขนส่งทางบก. รายงานสถิติการขนส่งปีงบประมาณ 2564. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ]. เข้าถึงได้จาก http://www.dlt.go.th/minisite/ m_ upload/editorpic/technplan/files/Monthly% 20 Sep21.pdf

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. รายงานการวิเคราะห์สถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก ประจําปี งบประมาณ 2565 [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์2565]. เข้าถึงได้จากhttp://203.155.220.99/dotat/plan/2564/RoadSafetyMasterPlanBangkok2021-2025.pdf

สิริกุล เกิดฤทธิ์. พฤติกรรมของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน สมาคมผู้ประกอบการรถบรรทุก น้ำมัน แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. จังหวัดนครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2551.

ชรัญญา ติปินโต. พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานขับรถบรรทุก สมาคมผู้ประกอบการรถบรรทุก จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. จังหวัดนครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

ดวงพร ชี้แจง. การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในกลุ่มพนักงานขับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ภายในท่าเรือแหลมฉบัง [วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. จังหวัดนครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.

รักชาติ ชาติสิริทรัพย์. การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกวัตถุอันตราย.[ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/ listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KMUTNB.the.2006.212/

นพพล โพธิ์ขี. การศึกษาและตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับรถบรรทุกขนาดเล็ก กิจการขนส่ง และโลจีสติกส์ [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2552

Heinrich, H. W. Industrial Accident Prevention. (4th ed.). New York: McGraw-HillBook Company; 1959.

นวพัฒน์ อนันตศิลากุล. ปัจจัยจากทฤษฎีโดมิโนที่มีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ ของพนักงานโรงงานผลิตกระจกแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ ธุรกิจมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ; 2563

อุบลรัตน์ วิเชียร สุรีย์ จันทรโมลี ประภาเพ็ญ สุวรรณ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19: 147 – 55.

นิพาวรรณ์ แสงพรม ชายแดน สำนวนกลาง วีระยุทธ์ คำเขียวและคณะ. ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงาน ขับรถบรรทุกน้ำมัน กรณีศึกษา: บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2564; 3 : 174 – 85.

วิทิต กมลรัตน. ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ ประเทศไทย จํากัด [สารนิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์; 2552.

กานต์พิชชา หนูบุญ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ.ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2558; 2 : 1 – 9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27