ผลการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้ระบบครอบครัวเสมือนต่อความคงทนของอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิตพยาบาล
คำสำคัญ:
การศึกษาแบบบูรณาการ, ระบบครอบครัวเสมือน, ความคงทนของอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์, บัณฑิตพยาบาลบทคัดย่อ
ผลการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้ระบบครอบครัวเสมือนต่อความคงทนของอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิตพยาบาล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวบข้อมูลข้อมูลทั้งรูปแบบการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะเวลาในการศึกษา กรกฎาคม 2564 – กันยายน 2564 โดยทำการศึกษาจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ปี 2562 จำนวน 10 คน ปี 2563 จำนวน 10 คนผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของบัณฑิตพยาบาล จำนวน 10 คน และผู้รับบริการจำนวน 10 คน
ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ระบบครอบครัวเสมือนทำให้บัณฑิตมีความคงทนของอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ให้บริการผู้อื่นด้วยความเอาใจใส่ประดุจญาติมิตร เมตตา เอื้ออาทร ความสามารถในการปรับตัว มีทักษะในการดำเนินชีวิต ผลการจัดการศึกษาแบบบูรณาการทำให้บัณฑิตมีการแสดงออกของพฤติกรรมด้าน ความมุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเสียสละ การทำงานเป็นทีม การสร้างสรรค์นวัตกรรม คิดเป็นระบบและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร การใฝ่รู้และพัฒนาตนเอง จิตอาสา มีความซื่อสัตย์ จิตสำนึกด้วยใจรัก เป็นคุณลักษณะของพลเมืองสร้างสรรค์ รู้และเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และมีพฤติกรรมการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง
References
วิชัย วงษ์ใหญ่. การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์ อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์; 2554.
มกราพันธุ์ จูฑะรสก ลิลลี่ ศิริพร และอณิษฐาจูฑะรสก. การปฏิรูปการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขไทย บริบทวิทยาลัย สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. ใน มกราพันธุ์ จูฑะรสก และอณิษฐา จูฑะรสก. (บรรณาธิการ). การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรแห่งความสุข บนฐาน “จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้ระบบครอบครัวเสมือน” ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556.
วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น; 2556.
แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559). นนทบุรี : สภาการพยาบาล; 2555.
ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง. การวิจัยและพัฒนา: นวัตกรรมทางการศึกษาพยาบาลแห่งยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4: 26 – 38.
วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. การเรียนรู้บนฐาน Growth mindset:-based Learning.กรุงเทพมหานคร:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.
ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล. การพัฒนารูปแบบเครือข่ายจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารกองการพยาบาล 2554; 38 : 16 – 30.
จุรี แสนสุข นิระมล สมตัว และแสงดาว จันทร์ดา. การศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้ระบบครอบครัวเสมือนต่อความคงทนของอัตลักษณ์จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในบัณฑิตโครงการผลิตพยาบาลชุมชน เพื่อชุมชน ของชุมชนและโดยชุมชน จังหวัดขอนแก่น.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ Journal of Nursing and Health Care 2559; 34: 140 – 46.
จิราพร วรวงศ์ แสงดาว จันทร์ดา วิไลวรรณ วัฒนานนท์ และคณะ. องค์กรแห่งความสุขภายใต้วัฒนธรรมและค่านิยมร่วมที่เข้มแข็งด้านจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์.ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น; 2557.
สมควร หาญพัฒนชัยกูร มกราพันธุ์ จูฑะรสก ลิลลี่ ศิริพร และคณะ. การพัฒนาชุมชนสุขภาวะโดยใช้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน (หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งชุมชน). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557; 24: 67 – 79.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว