ประสิทธิผลมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
มาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับมาตรฐานของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (2) พัฒนามาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (3) ประสิทธิผล การพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประชากร คือ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 108 แห่ง จำนวนตัวอย่าง 85 แห่ง โดยใช้สูตรการหาขนาดตัวอย่าง ของทาโร่ ยามาเน่ วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกการตรวจประเมินสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วย ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วย สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks test
ผลการศึกษา พบว่า (1) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี ผ่านมาตรฐาน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.88 (2) ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ผ่านมาตรฐาน 78 แห่ง ร้อยละ91.76 (3) ระดับประสิทธิผลมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี ร้อยละ 91.76 และ หลังจากได้รับการพัฒนาผ่านระบบไลน์แอปพลิเคชัน มีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ที่ผ่านมาตรฐานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05
References
กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือปฏิบัติงานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด; 2561.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. จำนวนธุรกิจสปาและธุรกิจนวดเพื่อสุขภาพ. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 29 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.dbd.go.th
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.สบส. คุมเข้มมาตรฐานร้านสปา ร้านนวด มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ขจัดปัญหาสปา นวดไทยไร้มาตรฐาน. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 29 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://hss.moph .go.th
พินิจ ทิพย์มณี. ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติสถานบริการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น 2564; 5(1): 200.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-2579).ไม่มีโรงพิมพ์; 2561.
กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ.spa directory. บุรีรัมย์: บริษัทโรงพิมพ์วินัย 2509 จำกัด; 2563.
กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการตรวจประเมินและการพิจารณาอนุญาตการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ.กรุงเทพฯ:บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด; 2562.
ดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์ และ สุพัตรา ชาติอดุลย. การศึกษาความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการตรวจสถานที่ ของร้านนวดเพื่อสุขภาพ ด้วยระบบการสนทนาแบบเห็นภาพ (VDO CALL) ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (LINE). วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2564; 17(3): 45 – 55.
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล. การพัฒนามาตรฐานสถานประกอบการสปาและนวด เพื่อสุขภาพไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน.วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2562; 15(3): 3 – 11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว