เปรียบเทียบผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มเสี่ยง (608) ที่ได้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน ในโรงพยาบาลแก้งคร้อ
คำสำคัญ:
กลุ่มเสี่ยง 608, อาการแสดง, การได้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีนบทคัดย่อ
การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มเสี่ยง 608 ยังเป็นเรื่องจำเป็น ขณะเดียวกันการเฝ้าระวังความปลอดภัยของกลุ่มเป้าหมายก็เป็นเรื่องสำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการแสดงจากการได้รับหรือไม่ได้รับวัคซีนที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อโควิด-19 ศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ในกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1,086 ราย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแก้งคร้อ ระหว่างเดือนเมษายน 2564 - เมษายน 2565
ผลวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเกินกว่ากึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 68.9) รองลงมาเป็นผู้ป่วยเบาหวาน (ร้อยละ 14.9) และได้รับวัคซีนเข็ม 1, 2, 3 และ 4 ร้อยละ 84.4, 79.7, 41.8 และ 0.5 ตามลำดับ ทั้งนี้วัคซีนที่ได้รับ ประกอบด้วยวัคซีน 3 ชนิด คือ Corona Vac, AZD1222 และ tozinameran (BNT162b2) ในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป อาการแสดงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 พบ 12 ลักษณะ จากการทดสอบด้วยสถิติ Multiple logistic regression พบ 6 อาการแสดงที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ได้รับวัคซีน ประกอบด้วย อาการไข้ อาการไอ อาการเจ็บคอ อาการอ่อนเพลีย อาการหายใจลำบาก และอาการเจ็บหน้าอก และพบ 1 อาการที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับวัคซีน คือ อาการตาแดง (Odds ratio = 3.59; 95% CI: 1.93, 6.69) นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 หากไม่ได้รับวัคซีนจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอดหรืออาการปอดบวม 38.77 เท่า (95% CI: 25.12, 59.84) ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์เพิ่มเติม เกี่ยวกับอาการแสดงที่เกิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของวัคซีนที่ได้รับ และชนิดของวัคซีนที่ได้รับ ให้ผลคล้ายคลึงกัน
ผลวิจัย ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากสามารถป้องกันอาการแสดงเป็นส่วนใหญ่ได้ในกลุ่มผู้ป่วย ถึงแม้จะยังมีอาการแสดงอื่นบ้างที่เกิดกับผู้ได้รับวัคซีน แต่ก็มีเพียงจำนวนน้อย และไม่รุนแรง และงานวิจัยนี้ ยังคงสนับสนุนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อไป
References
World Health Organization. SARS-Cov-2 at the human-animal interface. COVID-19 Research and Innovation 2022; 14 – 8.
World Health Organization. Epidemiology of COVID-19 focusing on past and current trends, drivers of transmission and severity, and epidemiological research gaps. COVID-19 Research and Innovation 2022; 24 – 9.
Hui DS, Azhar EI, Madani TA, Ntoumi F, Kock R, Dar O, Drosten C. The continuing 2019-nCoV epidemic threat of novel coronaviruses to global health—The latest 2019 novel coronavirus outbreak in Wuhan, China. International Journal of Infectious Diseases 2020; 91: 264 - 66.
CS S & Madathilkovilakathu H. Drug repurposing for COVID-19 from FDA approved and experiment stage drugs by in silico methods with SARS CoV-2 spike protein; 2020.
World Health Organization. Outbreaks should be detected and prevented at an early stage: A hub for pandemic and epidemic intelligence. COVID-19 Research and Innovation 2022; 30 – 3.
World Health Organization. World report on ageing and health. World Health Organization. [online]. (2021). [cited 25 october 2022]. Available from https :// apps.who.int/iris/handle/10665/186463; 2015.
สุปิยา วิริไฟ และพิมลดา ลัดดางาม. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และการตั้งครรภ์: ความท้าทายของพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2564; 22(43): 89 – 102.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
World Health Organization. COVID-19 vaccines and vaccination explained. WHO
Collaborating Centre for Vaccine Safety 2021; 1 – 42.
World Health Organization. Strategy to Achieve Global Covid-19 Vaccination by mid-2022. [online]. (2022). [cited 25 october 2022]. Available from https://cdn.who.int/media/docs/defaultsource/immunization/covid-19/strategy-to-achieve-global-covid-19-vaccination-by-mid-2022.pdf.
World Health Organization Thailand. COVID-19 Situation, Thailand 17 December 2021. [online]. (2021). [cited 25 october 2022]. Available from https:// cdn.who.int/media/docs/default-source /searo/thailand/2021_12_17_tha-sitrep-214-covid19.pdf?sfvrsn =dd37e4f6 _5.
World Health Organization. Vaccine: Research and Development priorities. COVID-19 Research and Innovation 2022; 48 – 56.
Ayoubkhani D et.al. Trajectory of long covid symptoms after covid-19 vaccination: community based cohort study. . [online]. (2021). [cited 25 october 2022]. Available from 2022;377:e069676 | doi:10.1136/bmj-2021- 069676: 1 - 11.
Boujang MA, Sa’At N, Ikhwan Tg TM, Sidik AB & Joo LC. Sample Size Guidelines for Logistic Regression from Observational Studies with Large Population: Emphasis on the Accuracy Between Statistics and Parameters Based on Real Life Clinical Data. Malays J Med Sci 2008; 25(4): 122 – 30.
บัณฑิต ถิ่นคำรพ. การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพโดยใช้ การถดถอยลอจิสติก. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
พิมผกา อินทวงศ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการแสดงหลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีนที่หน่วยบริการโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพและการศึกษา 2565; 2(1): 28 – 40.
Sam S. 10% ของชาวอิสราเอลที่ไม่รับวัคซีน ส่งผลอย่างไรกับวิกฤติโควิดระลอกใหม่ในประเทศ. COVID-19 Evidence update; 2564.
ธราณี สิริชยานุกุล, เบญญา วิมลอนันต์, พรพฤติกร เขื่อนศิริ และปิยฉัตร ดีสุวรรณ. การศึกษาผลของวัคซีนCovid-19 (CoronaVac) ต่อการทำงานของตับ ในบุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital 2021; 29(2): 34 – 42.
Elgendy MO, El-Gendy AO, Mahmoud S, Mohammed TY, Abdelrahim M EA & Sayed AM. Side Effects and Efficacy of COVID-19 Vaccine among the Egyptian Population. Vaccine 2022; 10: 1 – 14.
พิชชาภา แก้วกัน และคณะ. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบที่เกิดจากวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ. The Journal of Chulabhorn Royal Academy 2022; 4(1): 24 – 33.
กรรณยิการ์ วรรณวิมลสุข เสาวณีย์ เถียรทอง และพงศธร คชเสนี. การเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 เข็มที่ 3 ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Corona Vac มาแล้ว 2 เข็ม. Royal Thai Air Force Medical Gazette 2022; 68(1): 1 – 9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว