ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ เอี่ยมสอาด Rayong Provincial Public Health Office
  • กรรณิการ์ พินิจ Rayong Hospital

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, การดูแลผู้สูงอายุ, ทฤษฎีแรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดระยอง โดยผ่านเกณฑ์ การประเมิน ADL 12 คะแนนขึ้นไป จำนวน 112 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 56 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 56 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการทดสอบการเคลื่อนไหวทางกาย โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพ รวม 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะดูแลตนเองและใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ จากนั้นเก็บข้อมูลทั้งสองกลุ่มอีกครั้งหลังครบ 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินสมรรถนะทางกาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ t – test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

ผลการวิจัย พบว่า การใช้รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ มีประสิทธิผลดีทั้งด้านความรู้ การรับรู้ทุกด้านและการประเมินสมรรถภาพทางกาย โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = -4.827) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (t = 2.820) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ส่วนด้านพฤติกรรมมีค่าคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = -7.960)  แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (t = 1.264) ดังนั้น ทีมหมอครอบครัวและชมรมผู้สูงอายุควรนำรูปแบบการป้องกันการผลัดตกหกล้มโดยใช้ทฤษฏีแรงจูงใจไปใช้ในการประเมินพฤติกรรมสุขภาพการเยี่ยมบ้านและแนะนำสภาพแวดล้อมบ้านผู้สูงอายุ ให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม รวมทั้งควรผลักดันการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Day Care) ในชุมชน เพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ “1 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ 1 ตำบล” โดยการบริหารจัดการของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่             

References

United Nation. World population aging. [online]. (2018). [Retrieved 10 May, 2021]. Available from http ://un.osg/esa/ p0pulation /publication/WPA2009/WPA2009_workingPaper.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่12 พ.ศ.2560-2564. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2565.[ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// www.nso.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. ข้อมูลสถิติประชากรจังหวัดระยองจาก Health Data Center. ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www. Rayonghealth.com

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการพยากรณ์การผลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560 -2564 . [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/ document/file/violence/การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ %20ปี%202560-2564.pdf.

วิลาวรรณ สมตน ทัศนีย์ รวิวรกุล และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข 2013; 27(3): 58 – 70.

Roger, R.W. Protective motivation theory of fear Appeals and Attitude Chage. Journal of Phychology. 1975; 91(1) : 93 – 114.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย : มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเนและเครจซี-มอร์แกน. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://SO03.tci-thaijo.org.

Weatherall M. Multifactorial risk assessment and management programmes effectively prevent falls in the elderly. Evidence-Based Healthcare and Public Health. 2004; 8 :270 – 2.

กาญจนา พิบูลย์ และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสาธารณสุขศาสตร์; 2562

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง และอรทัย ยินดี. ความเสี่ยง ความกลัวการหกล้มและแนวทางการจัดการป้องกันการพลัดตกหกล้มผู้ที่ มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ .วารสารวชิรสารการพยาบาล 2564; 30 (23) : 1 - 43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07