ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทำการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ฉบับปรับปรุงปี 2561 ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส. และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย paired samples t-test
ผลการวิจัย พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีระดับคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ทั้ง 6 ด้าน และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. มีส่วนช่วยทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน สำหรับข้อเสนอแนะในการดำเนินงานวิจัยครั้งต่อไปควรเพิ่มกลุ่มควบคุมในการทดลอง เพื่อพัฒนาให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
References
Sustainable Development Goals: SDGs. การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพในประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.sdgmove.com/2021/02/15/ health-literacy-and-sdgs/
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2554.
กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายด้วย 4 โรค NCD ต่อประชากรแสนคน 100,000 คน ปี 2560-2564 จำแนกรายจังหวัด เขตสุขภาพ และภาพรวมประเทศ. กรุงเทพ ฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
กองโรคไม่ติดต่อ. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพ ฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.hsri.or.th / research/detail/12679
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนางานสาธารณสุข สร้างสุขภาพดี ให้ประชาชนไทยอย่างยั่งยืน. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://goodhealth. moph. go. th /?url=pr/detail/2/02/182959/
กองสุขศึกษา. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พ.ศ. 2562. กรุงเทพ ฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
อำนวย เนียมหมื่นไวย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2562; 4 (2): 78 – 92.
Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15: 259-67.
Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine 2008; 67(12): 2072-78.
กรมอนามัย. 3อ.2ส. รหัสป้องกันโรค. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
โรงพยาบาลปักธงชัย. ฐานข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. นครราชสีมา: งานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลปักธงชัย; 2556.
Polit, D.F. and Beck, T.B. Nursing research Principles and methods. Philadelphia: Lippincott Williamsand Wilkins; 2004.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กไทยและเยาวชนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. กรุงเทพมหานคร: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
Cronbach, L.J. Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row; pp. 1990.
อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์. การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในบริบทคลินิกหมอครอบครัว กรณีศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2564; 15(2): 155 -73.
Ryan P. and Sawin, K.J. The individual and family self-management theory: background and perspectives on context, process, and outcomes. Nursing Outlook 2009; 57: 217-25.
ญาดา รักธรรม รัตนาวลี ดีนวนพะเนา สุกัญญา ทะชัน และคณะ. ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563; 14(3): 129-48.
อัญชิสา ถาวรณ์ และกิ่งแก้ว สำรวยรื่น. ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2565; 16(1): 65-77.
วริษา กันบัวลา ณชนก เอียดสุย และอาภรณ์ ดีนาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ. วารสารคณะพยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564; 29(3): 1 - 4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว