แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ประวีณา สุมขุนทด -
  • ประจักร บัวผัน

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การสนับสนุนจากองค์กร, การดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 348 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้  การสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาซ 0.96 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูล จำนวน
12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2565–8 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า ระดับแรงจูงใจการสนับสนุนจากองค์กร และการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.8,S.D.=0.39), (gif.latex?\bar{x}=3.9,S.D.=0.40) และ (gif.latex?\bar{x}=4.1,S.D.=0.63) ตามลำดับ และพบว่าภาพรวมแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์กร มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่  สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.611,p-value<0.001) ; (r=0.59,p-value<0.001) ตามลำดับ ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ประกอบด้วย ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และการสนับสนุนจากองค์กรด้านการบริหารจัดการ มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 52.7 (R2=0.527,p-value<0.001) ข้อเสนอแนะควรมี การกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานให้มีความชัดเจนและควรมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความรู้ทางวิชาการให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว). [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/primary carecluster2017/khumux

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักสูตร อสม. เชี่ยวชาญการจัดการสุขภาพชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2562.

Frederick Herzberg, Bernard Mausner, Barbara Bloch Snyderman. Motivation to Work. London: Taylor and Francis; 2017.

ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารรับการตรวจราชการรอบ 1/2565. นครราชสีมา: สำนักงาน. อัดสำเนา; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม. นครราชสีมา: สำนักงาน. อัดสำเนา; 2565.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.

Likert, R. The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill; 1967

สำเริง จันทรสุวรรณ, และสุวรรณ บัวทวน. (). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2547.

นวพร รัตนจริยา และชนะพล ศรีฤาชา. แรงจูงใจและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการควบคุมการติดเชื้อตามมาตรฐานของทันตบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่9 2564; 15(38): 588 – 604.

ก้องเกียรติยศ แขพิมพันธ์, ประจักร บัวผัน และสุรชัย พิมหา. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความ สำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัด บึงกาฬ. KKU Research Journal (Graduate Studies) 2564; 21(3): 236 – 49.

เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562; 12(2): 42 – 51.

นิลวรรณ ทองพูล, ประจักร บัวผัน และมกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและ การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อ การปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. KKU Research Journal (Graduate Studies) 2562; 19(3): 131 – 41.

นิชาภา หลังแก้ว และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 15(38): 685 – 704.

พัทธ์ชนก พุทธมนต์สิงห์, ประจักร บัวผัน, และชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. KKU Research Journal (Graduate Studies) 2562; 19(3): 120 – 30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22