ตำรับอาหารกลางวันสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
ตำรับอาหาร, เด็กวัยก่อนเรียน, มื้อกลางวันบทคัดย่อ
วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของเด็กก่อนวัยเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการด้านสติปัญญาและสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรุงอาหารกลางวันและประเมินความพึงพอใจตำรับอาหาร ใช้รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เลือกแบบเจาะจง ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน จำนวน 64 คน และกลุ่มบุคลากร ครู และผู้ปกครอง จำนวน 5 คน ในเดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม 2563 เก็บข้อมูล 2 ส่วน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ตำรับอาหารโดยผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และประยุกต์ใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจตำรับอาหาร ได้ความเที่ยงเนื้อหาเท่ากับ 0.61 และความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยเปรียบเทียบปริมาณ ร้อยละกับค่าประมานการที่ควรได้รับอาหารหนึ่งมื้อในหนึ่งวันของเด็กก่อนวัยเรียน ก่อนและหลังปรุงอาหาร 7 ประเภท 56 ตำรับ
ผลการวิจัย พบว่า หลังปรุงอาหารมีค่าเฉลี่ยปริมาณความแตกต่างลดลง คือ น้ำตาล (39.2%) พลังงาน (33.8%) คาร์โบไฮเดรต (27.8%) ไขมัน (13.6%) โซเดียม (11.4%) ส่วนปริมาณที่เพิ่มขึ้น คือ ใยอาหาร ร้อยละ 31.1 และโปรตีน ร้อยละ 12.5 ความพึงพอใจตำรับอาหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก การปรับสัดส่วนวัตถุดิบในท้องถิ่นตามฤดูกาลมาใช้ประกอบตำรับอาหารกลางวันส่งผลให้ความหวาน มัน เค็ม ลดลง และโปรตีน ใยอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เด็กก่อนวัยเรียนยอมรับตำรับอาหารมากขึ้น ข้อเสนอแนะในครั้งนี้พื้นที่ใกล้เคียงสามารถนำตำรับอาหารไปประยุกต์ใช้ให้เด็กก่อนวัยเรียนเกิดการยอมรับตำรับอาหารมากขึ้น และการวิจัยครั้งต่อไปอาจต้องปรุงสลับอาหารเฉพาะชาติพันธุ์กับอาหารนิยมทั่วไปเพื่อเพิ่มความหลากหลายการบริโภคมากขึ้น
References
Hefferon KL, Downs S, Oliu GO, De Steur H. Editorial: Sustainable Development Goals (SDGs): Impact on Nutrition. Front Nutr 2021; 8: e676080.
Grosso G, Mateo A, Rangelov N, Buzeti T, Birt C. Nutrition in the context of the Sustainable Development Goals. Eur J Public Health 2020; 30(1): 19 – 23.
Angeles I, Monville E, Gonsalves F, Capanzana M. Integrated school-based nutrition programme improved the knowledge of mother and schoolchildren. Maternal & Child Nu 2019; 15(3): 1 – 9.
Hefferon K, Downs S, Oliu G, De H. Editorial: Sustainable Development Goals (SDGs): Impact on Nutrition. Front Nutr 2021; 28(8): 1 – 2.
จิราภา สุวรรณกิจ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2022; 31(2): 81 - 94.
สาธิต เมืองสมบูรณ์, ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร, พรทิพย์ พสุกมลเศรษฐ์ และคณะ. ผลของตำรับอาหารไทยมื้อกลางวันที่มีต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 2019; 13(1): 284 – 301.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน. งานทะเบียนและการประมวลผล. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://satit.Cmru .ac.th/
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน. รายงานการประกอบอาหารประจำวัน. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https:// satit.cmru.ac.th/
อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล อาทิตย์ ศรีจันทร์ดร ศิรินภา สรานนท์เมธากุล และคณะ. การยอมรับตํารับอาหารไทยประยุกต์มื้อกลางวัน และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กก่อนวัยเรียน. ใน วรางคณา จันทร์คง, ดวงพร นะคาพันธุ์ชัย, ยุทธนา สุดเจริญ. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 เรื่อง “การยกระดับงานวิจัยสู่นวัตกรรม” 17-18 มิถุนายน 2564; 2564.
ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2019; 8(15): 112 – 26.
นริศา เรืองศรี, อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล, อลงกต สิงห์โต และคณะ. การพัฒนาและการยอมรับต่อตำรับอาหารสูตรลดโซเดียมตามหลักทฤษฎีอาหารธาตุเจ้าเรือนของการแพทย์แผนไทย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2019; 36(3): 210 – 9.
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. คู่มือการใช้งาน Inmucal-nutrients V4. นครปฐม; 2018.
ชมนาด สิงห์หันต์, ศิริภาภรณ์ ม่วงโมทย์, รัตนา ใจบุญ. คุณภาพด้านโภชนาการและการดัดแปลงอาหารกลางวันและอาหารว่างสำหรับ เด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลจุน จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2021; 14(2): 80 – 93.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ในเด็กวัยเรียน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี; 2015.
ประไพพิศ สิงหเสม ศักรินทร์ สุรรณเวหา และอติญาณ์ ศรเกษตริน. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2017; 4(3): 226 – 35.
ไชยตอกเกี้ย สุระเดช, พฤกษา สุพรรณี, พีรกมล จิตติมา. การพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในจังหวัดเลย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2022; 15 (1): 29 – 38.
Hodder R, OBrien M, Stacey G et al. Interventions for increasing fruit and vegetable consumption in children aged five years and under. Cochrane Database Syst Rev 2019; 5(5) : 287 – 300.
Coleman G. Nutrition Education Aimed at Toddlers (NEAT) Curriculum. J Nutr Educ Behav 2005; 37 : 96 – 97.
Gibson S. Principles of Nutritional Assessment. 2nded. New York: Oxford University; 2005.
ณัฐธิดา โชติช่วง. อาหารกลมกล่อมด้วยโคคูมิ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม 2017; 12(1): 35 – 47.
ชญานิกา ศรีวิชัย, ภัทร์ภร อยู่สุข, วนิดา แพร่ภาษา. ภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา 1-6 โรงเรียนวัดมูลจินดารามและโรงเรียนธัญสิทธิ์ศิลป์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2014; 7(1): 40 – 5.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรองและแก้ไขปัญหาเด็กอ้วนในโรงเรียน บริการสุขภาพ และคลินิก DPAC. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย; 2015.
ปริยาภรณ์ มณีแดง. บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2017; 35(4): 16 – 24.
สุนันทา คเชศะนันทน์, อัครพันธ์ รัตสุข. แนวทางในการปรับปรุงรูปแบบการจัดอาหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2019; 11(2): 177 – 92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว