ประสิทธิผลของการนำกลไก “พชอ.” มาขับเคลื่อนงานด้านการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • คมกริช ฤทธิ์บุรี

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อน, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต, ระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, บุคลากรสายวิชาชีพหลัก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไก และประเมินประสิทธิผลคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอพิมาย ในการขับเคลื่อนการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ดำเนินงานตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2565 แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอจากภาคราชการและการเมือง ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม จำนวน 15 คน และ (2) ตัวแทนหมู่บ้านทั้งหมด 226 คน จาก 226 หมู่บ้าน เพื่อประเมินประสิทธิผลกลไก พชอ. เครื่องมือเก็บข้อมูลสำหรับคณะกรรมการ คือ เวทีการประชุมแบบสนทนากลุ่มและถอดบทเรียน กระบวนการ AIC และสำหรับตัวแทนหมู่บ้าน คือ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกของหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

               ผลการวิจัยพบว่า กลไกคณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอพิมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการฯระดับอำเภอ (พชอ.) ระดับตำบล (พชต.) และ ระดับหมู่บ้าน (พชม.) ขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์อำเภอ ทั้งหมด 5 ภารกิจ ผลการดำเนินงานพบว่า ในปี 2565 อำเภอพิมายมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 22 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 16.90 ต่อแสนประชากร ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ซึ่งเท่ากับ 202 ราย และอัตราป่วยเท่ากับ 155.20 ต่อแสนประชากร สรุปผลและข้อเสนอแนะ พบว่า กลไก พชอ.ช่วยแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี ด้วยการกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ แผนงาน โครงการให้ชัดเจน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อคือ การพัฒนาบุคลากรในเรื่องการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศระบบ และระบบการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข

References

กรมควบคุมโรค. ไข้เด็งกี่ (Dengue). [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https:// ddc. moph.go.th/disease_detail.php?d=44

กรมควบคุมโรค. รายงานเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกประจำสัปดาห์ เขตสุขภาพที่ 3 ประจำสัปดาห์ที่ 52 วันที่ 26 ธันวาคม 2564 – 1 มกราคม 2565. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://spbo3.moph.go.th/ket/wp-content/uploads/2022/01/DHF-week-52_64.pdf

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิมาย. รายงานเฝ้าระวังโรคไข้เลือด ปี 2564 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิมาย; 2564.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำ โดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ. 2564. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http:// utoapp.moph.go.th/e_doc/views/uploads/644b3ffaa73ec-b3e5eaf25e5abb5b193565 c837cbbdf4-1450.pdf

พงษ์ระพี ดวงดี มธุริน มาลีหวล และปณิตา ครองยุทธ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/ article/download/193309/164119/826862

อรัญญา ทิพย์ชาติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https ://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/254800

Prapatsorn Aksornpan, and Rungkant Plykaew. The Development of Regional Mechanisms to Prevent and Control of Dengue Fever in the Community. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://he2.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/ view/252387

ธงชัย ปัญญูรัตน์. ผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์. [ออนไลน์]. (2565) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/RDHSJ/article/view/257963

จิระวัตร วิเศษสังข์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอำเภอเมืองจันทร์ ปี 2563. [ออนไลน์]. (2565) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// he03. tci-thaijo.org/index.php/ech/article /download/511/235

ทิพวรรณ สินบุญยก อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว และ จรวย สุวรรณบำรุง. ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างสมรรถนะชุมชน ในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก: ผลการสนทนากลุ่ม.[ออนไลน์]. (2565) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https: //so2.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/235664

ธีรพัฒน์ สุทธิประภาล และปิยะ จันทร์หอมฟุ้ง. กระบวนการในการจัดการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ด้วยกลไกการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์. [ออนไลน์]. (2562) [เข้าถึง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https: //he03. tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/ 699

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07