ปัจจัยภาวะสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูงของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จุรี แสนสุข -
  • จริยา ศิริรส
  • อัจฉรา ข้อยุ่น
  • แสงดาว จันทร์ดา

คำสำคัญ:

ปัจจัยภาวะสุขภาพ, การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

ปัจจัยภาวะสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูงของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น  เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional analytical study) เก็บรวบรวบข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ตามทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพ ในบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น จำนวน 65 คน ระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างเดือน กันยายน 2565 – มีนาคม 2566  วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงใช้การวิเคราะห์ทีละตัวแปร  (univariate analysis) และการวิเคราะห์แบบคู่ (bivariate analysis) โดยใช้ตัวแบบถดถอยลอจิสติกอย่างง่าย (simple logistic regression) และการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์แบบตัวแปร พหุนาม (multivariable analysis) โดยใช้ตัวแบบถดถอยพหุลอจิสติก (multiple logistic regression)

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับไขมันในร่างกายและเส้นรอบเอว มากกกว่า 90  เซนติเมตร และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรค การรับรู้ความรุนแรง และพฤติกรรมการปฏิบัติในการป้องกันการเกิดโรคมีความสัมพันธ์ กับภาวะความดันโลหิตสูง              ในบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

References

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. รายงานสถานการณ์โลก NCDs. เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

ศูนย์อนามัย 7. รายงานการตรวจสุขภาพ 2565. รายงานประจำปี. ขอนแก่น : ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

ศูนย์อนามัย7. รายงานการตรวจสุขภาพ 2566. รายงานประจำปี. ขอนแก่น : ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2566

วิชัย เทียนถาวร. ระบบเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2565.

สุนทรีย์ คำเพ็ง อรธิรา บุญประดิษฐ์. ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี. Nursing Journal of The Ministry of Public Health 2013; 22(3): 112 – 23.

Janz NK, Becker MH. The Health Belief Model: a decade later. Health Educ Q 1984; 11(1):1 – 47.

ชื่นกมล สิทธิยอดยิ่ง. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ โรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2565; 2(2): 46 - 60.

Asep S, Suharmanto. Health Belief Model and Hypertension Prevention. Indian Journal of Forensic Medicine & Toxicology 2021; 15(3): 2054 – 9.

Joho AA. Using the Health Belief Model to Explain the Patient's Compliance to Anti-hypertensive Treatment in Three District Hospitals - Dar Es Salaam, Tanzania: A Cross Section Study. East Afr Health Res J 2021; 5(1): 50 – 8.

Cheng C, Sun J-Y, Zhou Y, Xie Q-Y, Wang L-Y, Kong X-Q, et al. High waist circumference is a risk factor for hypertension in normal-weight or overweight individuals with normal metabolic profiles. The Journal of Clinical Hypertension 2022; 24(7): 908 – 17.

Wang Y, Howard AG, Adair LS, Wang H, Avery CL, Gordon-Larsen P. Waist Circumference Change is Associated with Blood Pressure Change Independent of BMI Change. Obesity (Silver Spring) 2020; 28(1): 146 – 53.

Lv Y, Yao Y, Ye J, Guo X, Dou J, Shen L, et al. Association of Blood Pressure with Fasting Blood Glucose Levels in Northeast China: A Cross-Sectional Study. Scientific reports 2018; 8(1): 7917.

Liu D, Guan L, Zhao Y, Liu Y, Sun X, Li H, et al. Association of triglycerides to high-density lipoprotein-cholesterol ratio with risk of incident hypertension. Hypertens Res 2020; 43(9): 948 – 55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22