ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารไขมันทรานส์ของประชาชน ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, ไขมันทรานส์บทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์และความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ของประชาชน ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 167 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับมัธยมศึกษาที่ 1-6 ร้อยละ 35.30 และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 65.30 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การตัดสินใจ ทักษะการจัดการตนเอง ทักษะ การรู้เท่าทันสื่อ ภาพรวมคะแนนเฉลี่ย 3.64 อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ ภาพรวมคะแนนเฉลี่ย 3.51 อยู่ในระดับมาก และความรอบรู้ด้านสุขภาพพบว่าทักษะการตัดสินใจและทักษะการรู้เท่าทันสื่อมีความสัมพันธ์กันในระดับมากกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการเข้าใจ และทักษะการจัดการตนเอง มีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานการบริโภคอาหารของคนไทยปี พ.ศ.2565. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2022/ 05255135
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. ไขมันทรานส์ชาวไทย. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.siphhospital.com/th/news/ article/share/727
การศึกษาความรู้และพฤติกรรมการบริโภคไขมันทรานส์ของนักศึกษา สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://repository.rmutp.ac.th/ bitstream/handle/123456789/2478/HEC _61_02.pdf? sequence=1&isAllowed=y
Nutbeam D. The evolving concept of Health Literacy. Social Science & Medicine 2008; 67 : 2072 – 78.
วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา. การคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ].เข้าถึงได้จาก https://rid.psu.ac.th/animal /th/assets/document/GPowe r5-7.pdf
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.จำนวนประชากรปีพ.ศ.2565. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2565]. เข้าถึงได้จาก https:// tcnap2 tcnap.org/tcnap2/controller/dashboard /index. php?tambonId=570102
Likert, R.The Method of Construction and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. Wiley & Son, New York; 1999.
ธัญมน สุวรรณชัญ และวรัทยา ชินกรรม. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการของผู้บริโภคชาวไทย. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.econ.cmu.ac.th/econ_paper/admin/files/paper/pdf
ติโรจน์ นวนบุญ และคณะ. ความสัมพันธ์ความระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพทางโภชนาการ ของอสม. ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ หน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น.[ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2566 ]. เข้าถึงได้จาก https://hetci-thaijo.org/index.php/ajcph/ article/view/259
รัตนาภรณ์ สาสีทา และคณะ.ความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก https:/ /he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article /view/256875
กวินดา วิเศษแก้ว และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565].เข้าถึงได้จากhttps://thaidj.org/index.php/smnj /article/view/8780/8043
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว