การพัฒนาหลักสูตรการจัดระบบอาหารปลอดภัยในชุมชนตำบลพุดซาอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง -
  • จิราภรณ์ ประธรรมโย

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การจัดระบบอาหารปลอดภัยในชุมชนพุดซา, ยั่งยืน

บทคัดย่อ

         

อาหารที่สะอาดและปลอดภัยจะทำให้ห่างไกลโรค ส่งผลให้สุขภาพดี การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดระบบอาหารปลอดภัยในชุมชนพุดซาอย่างยั่งยืน วัดประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร ดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม (1) กลุ่มพัฒนาหลักสูตร จำนวน 10 คน (2) กลุ่มทดลองใช้หลักสูตร จำนวน 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  หลักสูตรฝึกอบรมและแบบทดสอบความรู้  โดยแบบทดสอบความรู้มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป นำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลักสูตรด้วย paired

t- test

               ผลการวิจัย พบว่า  หลักสูตรการจัดระบบอาหารปลอดภัยในชุมชนพุดซาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กิจกรรมและเนื้อหาสาระสำคัญ (1) การผลิตผลผลิตทางการเกษตรให้ปลอดภัย (2) การจัดการสิ่งแวดล้อม และ (3) การปรุงประกอบอาหารที่ปลอดภัย เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้รูปแบบการฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ประเมินผลและติดตามผล ผลอบรมประสิทธิภาพหลักสูตรมีค่าคะแนนความรู้ระหว่างการฝึกอบรม (E1) และความรู้หลังการใช้กิจกรรมฝึกอบรม (E2) เท่ากับ 85.0/98.0 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังทดลองใช้หลักสูตรมีค่าคะแนนสูงกว่าก่อนทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การจัดระบบอาหารปลอดภัยในชุมชนมีผลประเมินสูงกว่าเกณฑ์85.0/98.0 ที่กำหนดไว้ แต่ความยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นต้องติดตามและนำไปขยายผลเพิ่มขึ้น เพื่อเฝ้าระวังสารเคมี เชื้อโรคต่าง ๆ ปนเปื้อนในแหล่งผลิต สิ่งแวดล้อม และกระบวนการปรุงประกอบอาหารต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศวาระแห่งชาติ ด้านสุขภาพของคนไทยให้ปี 2563 เป็นปีอาหารปลอดภัย. [ออนไลน์].(2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.rajavithi.go. th/rj/wp-content/uploads/2020/01/S__ 76242987.jpg.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. เฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารช่วงเทศกาลกินเจ. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1322.

อรอุมา สร้อยจิตและ สุวิทย์ คล่องทะเล. การตรวจหาสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตที่ตกค้างมากับผักที่ใช้ประกอบอาหารในร้านอาหารของชุมชนใกล้มหาวิทยาลัย รังสิต ต.หลักหก อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานีในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/ nation2019/NA19-147.pdf.

วินัย วนานุกุล สุดา วรรณประสาท และจารุวรรณ ศรีอาภา. สารกำจัดแมลงกลุ่มอาร์กาโนฟอสฟอรัสและคาร์บาเมต. [ออนไลน์]. (2552). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.rama. Mahidolac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/books/Pesticide_book-01_Organophosphorus-and-Carbamates.pdf

Toxicology Information Center. Department of Medical Sciences. [Online]. (2019). [Cited in 25 January, 2020] Available from : http:// webdb. dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_ 001c.asp?info_id=396.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566 - 2570. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https: //www.opsmoac.go.th/phichit-dwl-files-442991791932.

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. เปรียบเทียบสารพิษตกค้างในผักผลไม้ นำเข้า และ ผลิตในประเทศ ย่ำแย่ไม่แพ้กัน.[ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566] เข้าถึงได้จาก : https:// thaipan.org/ data/2333.

สำนักงานสนับสนุนและส่งเสริมอาหาร ปลอดภัย. การตรวจสถานที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสถานที่จำหน่ายอาหารปีงบประมาณ 2565. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://foodsafety.moph.go. th/main /?p=list&detail=1839.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรปี 66/67 จังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.khorat.doae.go.th/ web/attachments/article/124/ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรOnepage-2-10-2566.pdf.

วลัญช์ชยา เขตบำรุง และคณะ. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกรและชุมชนจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนคราชสีมา. [วิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์]. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล; 2561.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2556; 5(1) : 16 – 30.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

กนกพร ตันวัฒนะ และคณิต เขียววิชัย. รูปแบบชุมชนอาหารปลอดภัยของระบบการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 2562; 7(2) : 85 – 100.

พรสวรรค์ ไชยคุณ นฤมล สินสุพรรณ และสุทิน ชนะบุญ. การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2) : 407 – 13.

วิชาญ ดำรงค์กิจ พัชราภรณ์ กระต่ายทอง เดชา บัวเทศ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงอาหารปลอดภัยในสถานประกอบการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Journal of Roi Kaensarn Academi 2565; 8(6) : 529 - 40.

เกศินี จุฑาวิจิตร ณรงค์ กลิ่นถือศีล ชุติมณฑน์ ศรีสุข และคณะ. การจัดการอาหารปลอดภัย: บทเรียนจาก “แหลมบัว”. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22