การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • พนิดา เชียงทอง Maharat nakhon ratchasima hospital
  • สุรัชนา พงษ์ปรสุวรรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • สมจิตร เมืองพิล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศุจิรัตน์ ปัญญาแก้ว สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี https://orcid.org/0000-0001-7841-149X
  • ลักขณา ไชยนอก สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว

บทคัดย่อ

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก การพยาบาลที่ช่วยส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเอง ช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สามารถยืดอายุครรภ์และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ศึกษาผลลัพธ์และความพึงพอใจในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 20 ราย และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 3) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม - เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test

               ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบฯ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดี แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) สามารถยืดอายุครรภ์ได้เพิ่ม 2 สัปดาห์ ทั้งหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้รูปแบบฯ มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบส่วนใหญ่ในระดับดี ผลการวิจัยนี้เสนอแนะให้พยาบาลผดุงครรภ์ นำรูปแบบไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เพื่อให้สามารถตั้งครรภ์ต่อจนอายุครรภ์ครบกำหนดคลอด

References

World Health Organization. Preterm birth. [Online]. (2023). [cited 2023 Oct 27]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth.

Ohuma E-O, Moller A-B, Bradley E, et al. National, regional, and global estimates of preterm birth in 2020, with trends from 2010: a systematic analysis. Lancet. [Online]. (2023). [cited 2023 Oct 27]. Available from: doi: 10.1016/S0140-6736 (23)00878-4

Chawanpaiboon S, Vogel JP, Moller A-B, et al. Global, regional, and national estimates of levels of preterm birth in 2014: a systematic review and modelling analysis. Lancet Glob Health. [Online]. (2019). [cited 2023 Oct 27]. Available from: doi:10.1016/S2214-109X(18)30451-0

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ จังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. (2566) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:// nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=ecdbfc8b4725386c34623ce99f0f4b8d

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, et al. Williams obstetrics. (25th). NY: McGraw Hill Education; 2018.

Gray BA. A Ticking Uterus: How Nurses Can Identify, Treat and Prevent Preterm Labor. Nurs Womens Health 2006;10(5): 380 - 9.

ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https:// he02.tcithaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/50330/41650

Ruiz RJ, Gennaro S, O’Connor, et al. CRH as a predictor of preterm birth in minority women. Biol Res Nurs 2016; 18(3): 316 – 21.

Shah J, Baxi B. Identification of biomarkers for prediction of preterm delivery. J. Med. Soc. 2016; 30(1): 3 – 14.

Afolabi BB, Moses OE. Bacterial vaginosis and pregnancy outcome in Lagos, Nigeria. Open Forum Infect. Dis. 2016; 3(1):1 - 5.

Wagura P, Wasunna A, Laving A, et al. Prevalence and factors associated with preterm birth at kenyatta national hospital. BMC Pregnancy Childbirth 2018;18(1): 1 – 8.

ฐิติกานต์ ณ ปั่น รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2557; 10(2): 142 – 50.

Hidayat ZZ, Ajiz EA, Krisnadi SR. Risk factors associated with preterm birth at hasansadikin general hospital in 2015. Open J Obstet Gynecol 2016; 6(13) : 798 – 807.

Lilliecreutz C, Larén J, Sydsjö G, et al. Effect of maternal stress during pregnancy on the risk for preterm birth. BMC Pregnancy Childbirth 2016; 16(1): 1–8.

Oakes MC, Chubiz J, Passafiume O, et al. First trimester stress and depression as risk factors for preterm birth: 1125. Am J Obstet Gynecol 2020; 222(1): S692 – 3.

ปิยะพร กองเงิน วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา และกาญจนา สมบัติศิรินันท์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนของการคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/TJONC/article/view/48694

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสถิติหน่วยงานห้องคลอด: สถิติทารกคลอดก่อนกำหนด ปี 2560 - 2566. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา; 2566.

อัสมะ จารู, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 39(1):79–92.

Ryan P, Sawin KJ. The Individual and Family Self-Management Theory: background and perspectives on context, process, and outcomes. Nurs Outlook 2009; 57(4): 217 – 25.

ทิพสุดา นุ้ยแม้น. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมุสลิม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

ณัฐรพี ใจงาม, อรนุช ชูศรี, รุ่งนภา ป้องกันเกียรติชัย, และคณะ. แนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพของบุคคลและครอบครัวที่มีสมาชิกป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(3):1-9.

รัตนา พรหมบุตร จีราวรรณ พญารัง และวรรวิสา นาวาสมุทร. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้บาดเจ็บ เพื่อลดภาวะเสี่ยงการตกเลือดจากการบาดเจ็บช่องท้อง. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ jhri/article/view/243301

รัตนาภรณ์ ปาลีนิเวศ ธนิษฐา สุทธิ รัชนี ผิวผ่อง และคณะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2565; 37(2): 441 – 52.

สุจิตต์ แสนมงคล. การรับรู้ภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรม การดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559; 30(2):105-14.

อารีรัตน์ ชำนาญ ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล และอดิศว์ ทัศณรงค. ผลของโปรแกรม การจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการควบคุมฟอสฟอรัสและผลคูณแคลเซียมและฟอสฟอรัสในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสภาการพยาบาล 2564; 36(2): 50 – 65.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ อติญาณ์ ศรเกษตริน จินตนา ทองเพชร และคณะ. การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในบริบทคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2564; 15(2) : 155 – 73.

สุรีพร กัฬหะสุต พนิดา เชียงทอง สุรัชนา พงษ์ปรสุวรรณ์ และคณะ. ผลของโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดร่วมกับ การสนับสนุนทางสังคม ต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565; 16(1): 59 – 74 .

จันทร์จีรา กลมมา ฉวี เบาทรวง และนันทพร แสนศิริพันธ์. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด. พยาบาลสาร 256044(3): 9 – 18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22