การพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
คลังข้อมูลด้านสุขภาพ, สำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, การประเมินผลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์นโยบาย สถานการณ์ ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านข้อมูลสุขภาพ (2) การออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ (3) การประเมินผลการพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จำนวน 1 คน ผู้รับผิดชอบวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 1 คน คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ จำนวน 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัยต้นฉบับและบทความวิชาการ จำนวน 3 คน และผู้ใช้ประโยชน์คลังข้อมูลด้านสุขภาพ จำนวน 73 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนก แยกแยะ จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เป็นข้อค้นพบ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติ F – test
ผลการวิจัย พบว่า (1) นโยบายด้านสุขภาพในทุกระดับมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาผนวกในการดำเนินงาน ด้านปัญหาการใช้งานคลังข้อมูลด้านสุขภาพยังเป็นการดำเนินงานด้วยเอกสาร ซึ่งบางครั้งเอกสารไม่ครบถ้วน สูญหาย และต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาเอกสาร แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ เพื่อให้สามารถ จัดเก็บ เผยแพร่ และสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพ (2) ออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโครงสร้างคลังข้อมูล 6 เมนูหลัก ได้แก่ หน้าหลัก การเข้าสู่ระบบ หน่วยเผยแพร่และตีพิมพ์ผลงาน หน่วยรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ ฐานข้อมูลวิจัย และเวทีวิชาการ โดยผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูล และติดตามผลการดำเนินงานได้ด้วยตนเอง (3) การประเมินผลการพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่า โดยภาพรวมผู้เกี่ยวข้องมีความ พึงพอใจต่อ การพัฒนาคลังข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลมีความถูกต้อง เหมาะสมมีประโยชน์ในการเลื่อนระดับตำแหน่งทางการวิชาการ และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ด้านงานวิจัยของหน่วยงานระดับพื้นที่ ข้อเสนอแนะ ควรนำคลังข้อมูลด้านสุขภาพไปพัฒนาต่อเนื่อง และขยายผลใช้ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งอื่น
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570). [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www. nesdc.go.th/article_attach/article_file_ 20230307173518.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://wops.Moph .go.th/ops/oic/data/20180315154733_1_ .pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2560
สำนักวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ดำเนินงานคลังข้อมูลด้านสาธารณสุข. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2566.
ดอกแก้ว ตามเดช และณรงค์ ใจเที่ยง. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565; 5(1) มกราคม – เมษายน : 78 – 92.
สายชล สู่สุข. การพัฒนาโปรแกรมควบคุมการตัดจ่ายงบประมาณของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2564; 7(2) กรกฎาคม - ธันวาคม : 215 – 32.
สันติ ทวยมีฤทธิ์. การนำนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพไปปฏิบัติจากการกระจายอำนาจด้านสุขภาพไปสู่องค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. [ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต; 2556.
ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล และอรวรรณ อนามัย. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตัน ที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559; 26 (2) พฤษภาคม – สิงหาคม : 142 – 53.
วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และคณะ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารการพยาบาล 2557; 29 (3) กรกฎาคม – กันยายน : 104 – 15.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2549.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3) : 607 – 10.
อีซี่ บร๊านเซส. MySQL มีความสำคัญอย่างไรกับเซิร์ฟเวอร์. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://th.easyhostdomain .com/dedicated-servers/mysql.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว