การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด รองรับประมวลกฎหมายยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
กลไกการขับเคลื่อน, การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ, ประมวลกฎหมายยาเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด รองรับประมวลกฎหมายยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไกและประเมินผล การขับเคลื่อนระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงนโยบาย (policy research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (mixed method) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดจากข้อมูล การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด (บสต.) จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1,915 คน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจำนวน 50 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า การขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด รองรับประมวลกฎหมายยาเสพติด จังหวัดฉะเชิงเทราประกอบด้วย 7 ประเด็น 19 กลไกขับเคลื่อนและเมื่อประเมินผลการขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) พบว่าคะแนนเฉลี่ยการขับเคลื่อนระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด จังหวัดฉะเชิงเทราในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.63, S.D.=0.71) โดยด้านสภาพแวดล้อม มีการปฏิบัติมากที่สุด สำหรับด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตมีการปฏิบัติในระดับมาก ซึ่งผลการศึกษาสามารถยกระดับระบบบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดจังหวัดฉะเชิงเทราให้สอดคล้องกับภารกิจตามตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ส่งผลให้เกิดนโยบาย มาตรการแนวทางที่เป็นรูปธรรมเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
References
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2566-2570. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2565.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. สรุปผลการตรวจราชการกรณีปกติปี 2566. ฉะเชิงเทราซ:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา; 2566.
วสันต์ สิงห์ดา. แนวทางความร่วมมือด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมในจังหวัดนครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2563.
วัชรพร พุทธสอน. ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์; 2561.
อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์และนวภัทร ณรงค์ศักดิ์. รูปแบบการติดตามประเมินผลผู้เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูยาเสพติด: ศึกษากรณีการให้คำปรึกษาเฉพาะราย ในศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2564.
พระครูกิตติวราทร (ทองปั้น) จิราภรณ์ ผันสว่าง อมรรัตน์ ผันสว่างและคณะ. การพัฒนารูปแบบวิธีการ ป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. Dhammathas Academic Journal 2562; 19: 215 - 30.
ณัฐวุฒิ บุตรธนู. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. [วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
กัลยาณี สุเวทเวทิน สัมมนา มูลสาร และธีราพร สุภาพันธุ์. การประเมินผลการดำเนินงานการบำบัดรักษาผู้เสพเมทแอมเฟตามีน ด้วยระบบสมัครใจบำบัดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(2): 37 – 50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว