การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยง, การคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยผู้ให้บริการ, โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ (1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยสำคัญ (2) พัฒนารูปแบบ (3) ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ (4) การประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเลือกแบบเจาะจงผู้บริหารโรงพยาบาล 9 คน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 90 คน และสุ่มอย่างเป็นระบบผู้ให้บริการ 233 คน เครื่องมืองานวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน Paired Samples t-test, Chi-square และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ข้อพิพาททางการแพทย์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.2564-2566 โดยอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน รายได้ ทัศนคติ และองค์ประกอบความปลอดภัย มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านความปลอดภัยของผู้ให้บริการ (p-value<0.001) พบปัญหาทักษะด้านกฎหมายของผู้ให้บริการ นโยบาย การคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัยผู้ให้บริการไม่ชัดเจน ผลการพัฒนาได้รูปแบบ PROMISE Model ที่คุ้มครองความปลอดภัย 3 ระยะ คือ (1) ระยะก่อนเกิดเหตุเป็นการป้องกัน (P: prevention) (2) ขณะเกิดเหตุ มีการส่งต่อ (R : referral) ให้ทีมปฏิบัติ (O : operation teams) สู่การปฏิบัติ (M : management) (3) ภายหลังเกิดเหตุช่วยเหลือด้านจิตใจ การไกล่เกลี่ย ข้อกฎหมาย เยียวยาตามสิทธิ (S : Support) และประเมินผล (E : evaluation) ผลการประเมินรูปแบบ “PROMISE Model” โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองใช้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศคติ องค์ประกอบด้านความปลอดภัย และสมรรถนะการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และพึงพอใจในองค์ประกอบ ทีมปฏิบัติการ ความชัดเจน ปฏิบัติได้จริง และเชื่อมั่นในการคุ้มครองสิทธิด้านความปลอดภัย และพบว่าสัดส่วนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) จึงควรนำไปกำหนดนโยบายระดับจังหวัดเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้ให้บริการอย่างเป็นรูปธรรม
References
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานประจำปีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์.เอกสารอัดสำเนา; 2566.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์.รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2566.เอกสารอัดสำเนา; 2566
อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล.รูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยบาลทั่วไปตาม Service Plan: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่าแดนดิน. Humanities, Social Sciences and Art 2562; 12(5): 1265 – 83.
สุภิดา สุวรรณพันธ์.การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2563; 12(1): 223 – 38.
พชร มาเทียน. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขบริการจัดการ ความ เสี่ยง ด้าน ความ ปลอดภัย ใน ระบบ บริการ สุขภาพ: ใน โรง พยาบาลระดับทุติยภูมิจังหวัด เพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนา ระบบสุขภาพ 2565; 16(1) : 99 – 112.
รั ศ มิ์เกล้า คงประสิทธิ์. ปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดโรง พยาบาล ชุมชนเขตบริการ สุขภาพ ที่ 12. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา :มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์; 2565
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. Patient Safety Concept and Practice.นนทบุรี.สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2561
Sign, A. A Study of role of McKinsey’s 7S framework in achieving organizational excellence. Organization Development Journal 2013; 331(3): 39
Kemmis & Mc Taggart R. (Eds). The Action Research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.
สุชานาฏ มูสิการัตน์. การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของคลินิก หู คอ จมูกโรงพยาบาล สงขลา นครินทร์ (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัย สงขลา นครินทร์). รายงานประจำปี; 2565.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและสถานบริการ ฉบับที่ 5.นนทบุรี. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2565
Edwards, W. Deming. Out of the Crisis. [online]. (2024). [cited 5 August 2024]. Available from https://archive.org/details/
outofcrisis000demi.
World Health Organization. Global patient safety action plan 2021-2030: towards eliminating avoidable harm in health care. World Health Organization; 2021.
รพี แพทย์ ประสิทธิ์นราพันธุ์ และนิทรากิจ ธีระวุฒิวงษ์. การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการ ทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพสำหรับทีมสุขภาพระดับปฐมภูมิในระบบ สุขภาพอำเภอ. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.
Nangern, W., & Kongkhuntod, S. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสาธารณภัยของหน่วย งาน สังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข. วารสาร แพทย์ เขต 4-5 2021; 35(3) : 188 - 97
Onthaisong, K., & Dapha, S. ปัจจัย ที่ มี อิทธิพล ต่อ การ รับ รู้ วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาล วิชาชีพโรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. Journal of Sakon Nakhon Hospital 2023; 26(3) : 50 – 60.
Martiana, T., & Suarnianti, N. I. M. The determinants of Safety behavior in hospital. Indian Journal of Public Health Research & Development 2018; 9(2) : 147-53.
ภั ท รา พรรณ อาษา นาม, สมปรารถนา ดาผา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของ พยาบาล วิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาล ศูนย์ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2022; 25 (3) : 133 – 11.
กรรณิการ์ สิทธิชัย และสันติธร ภูริภักดี. การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวตกรรม กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รับรางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม.Verdian E-Journal, Sipakorn University 2561; 11(3): 1419 – 35.
สมพิศ เหง้าเกษ ปภัสสิริ ทับสุริ เพชรสมร มีธรรม และคณะ. ผลการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมุกดาหาร. Journal of Skon Nakhon Hospital 2023; 26(1) มกราคม-เมษายน : 101 – 14.
อภิชญา อารีเอื้อ. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานโรงพยาบาลและ บริการสุขภาพโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2023; 8(3) : 209 – 16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว