The Effect of School Lunch Program on Nutritional Status of Overweight Adolescents in Public Schools

Main Article Content

Aroonrasamee Bunnag
Parnnarat Sangperm
Weeraya Jungsomjatepaisal
Yuwadee Pongsaranunthakul
Kanjana Krongthammachart

Abstract

Purpose: To study the effect of a school lunch program on percentage of weight for height, eating behavior, calories intake and energy distribution in overweight adolescents.

Design: Quasi – experimental study.

Methods: Participants were 70 overweight adolescents studying in grade 7-9 in two public schools in Bangkok. They were 33 participants in the experimental group and 37 participants in the control group. The experimental group was provided a 12-week healthy school lunch program from Monday to Friday. They also attend a focus group with the researcher every 4 weeks. Data regarding weight, height, percentage of weight for height, eating behavior, and food record were collected before and after the program. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.

Main findings: In the between groups analysis using independent t-test, the experimental group had more decreased percentage of weight for height than the control group while had more increased eating behavior score than the control group (p < .05). When comparing within group using paired t-test, the experimental group received significantly increased energy distribution from carbohydrate and reduced energy distribution from fat after the program (p < .05).

Conclusion and recommendations: An appropriate school lunch program provided to overweight adolescents can help them in controlling their weight while gaining optimal growth. School nurse and also school board should play a role in giving advice to and supporting food vendors in school to provide more choices of healthy foods for overweight adolescents.

 

 

ผลของโปรแกรมการจัดอาหารกลางวันต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในโรงเรียน

อรุณรัศมี บุนนาค, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, วีรยา จึงสมเจตไพศาล, ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล, กาญจนา ครองธรรมชาติ


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียน ต่อร้อยละของน้ำหนักต่อส่วนสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณพลังงานและสัดส่วนการกระจายพลังงานในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนในโรงเรียน 2 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน กลุ่มทดลองรับประทานอาหารกลางวันจากร้านอาหารสุขภาพที่เข้าร่วมโครงการในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และมีการสนทนากลุ่มกับผู้วิจัยทุก 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลทั้งสองกลุ่มก่อนและสิ้นสุดโครงการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ค่าร้อยละน้ำหนักต่อส่วนสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการบันทึกอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ t-test

ผลการวิจัย: ผลการทดสอบระหว่างกลุ่มด้วย independent t-test พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าร้อยละของน้ำหนักต่อส่วนสูงลดลงมากกว่า และมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) ในขณะที่ผลการทดสอบภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test พบว่า เมื่อสิ้นสุดโครงการ กลุ่มทดลองได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรทในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น แต่ได้รับพลังงานจากไขมันในสัดส่วนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดเตรียมอาหารกลางวันที่เหมาะสมให้แก่วัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินเอื้อให้วัยรุ่นสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ พยาบาลประจำโรงเรียนรวมทั้งผู้บริหารโรงเรียนจึงควรมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ และสนับสนุนให้ร้านค้าในโรงเรียนจำหน่ายอาหารสุขภาพเพื่อเป็นทางเลือกให้กับวัยรุ่นที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน


คำสำคัญ: อาหารกลางวัน ภาวะโภชนาการ เด็กวัยรุ่น

Article Details

How to Cite
Bunnag, A., Sangperm, P., Jungsomjatepaisal, W., Pongsaranunthakul, Y., & Krongthammachart, K. (2014). The Effect of School Lunch Program on Nutritional Status of Overweight Adolescents in Public Schools. Nursing Science Journal of Thailand, 31(4), 67–76. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26521
Section
Research Papers
Author Biographies

Aroonrasamee Bunnag, Mahidol University

Faculty of Nursing

Parnnarat Sangperm, Mahidol University

Faculty of Nursing

Weeraya Jungsomjatepaisal, Mahidol University

Faculty of Nursing

Yuwadee Pongsaranunthakul, Mahidol University

Faculty of Nursing

Kanjana Krongthammachart, Mahidol University

Faculty of Nursing