Predictive Factors of Exercise Behavior among Overweight Workers in an Electric Plant
Main Article Content
Abstract
Purpose: This study aimed to examine predicting factors of attitude towards exercise, outcome expectancy for exercise, perceived exercise self-efficacy, exercise experiences and workplace exercise environment to the exercise behavior among overweight workers at South Capital Electric Plant in Samut Prakan Province.
Design: A correlation predictive design.
Methods: 180 overweight workers at South Capital Electric Plant were selectied by stratified random sampling. Data were collected using self-administered questionnaires, including 1) demographics data 2) attitude towards exercise 3) outcome expectancy for exercise 4) perceived exercise self-efficacy 5) exercise experiences 6) workplace exercise environment, and 7) exercise behavior. Data were analyzed by using multiple regression.
Main findings: The result revealed that 54 percent of participants had exercise level lower than standard criteria of the American College of Sport Medicine. Perceived self-efficacy, workplace environment, and outcome expectancy were significant predictors of exercise behaviors, at 27.90% (p = .005).
Conclusion and recommendations: Promoting exercise behavior among factory workers, the environment plays an important factor besides fostering an individual’s personal factor.
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานโรงไฟฟ้าที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายของทัศนคติต่อการออกกำลังกาย ความคาดหวังผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการออกกำลังกาย ประสบการณ์ในการออกกำลังกาย และสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ ที่นํ้าหนักเกินเกณฑ์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงไฟฟ้าพระนครใต้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 180 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ทัศนคติต่อการออกกำลังกาย 3) ความคาดหวังผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย 4) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการออกกำลังกาย 5) ประสบการณ์ในการออกกำลังกาย 6) สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 7) พฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54 มีการออกกำลังกายไม่ถึงตามเกณฑ์มาตรฐานของวิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬา โดยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการออกกำลังกาย สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และความคาดหวังผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ร้อยละ 27.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005
สรุปและข้อเสนอแนะ: การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของวัยแรงงาน นอกจากการส่งเสริมปัจจัยด้านบุคคลแล้ว ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ
คำสำคัญ: ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ การออกกำลังกาย พนักงานโรงงาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความคาดหวังผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.