การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดสมองด้วยระบบนำวิถีแบบ Frame-based และ Frameless
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่มีพยาธิสภาพหรือรอยโรคในเนื้อสมองที่มารับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งโรคที่พบได้มากที่สุด คือ โรคเนื้องอกสมอง พบว่าเป็น 1 ใน 5 ลำดับโรคแรกของหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช สำหรับแนวทางการรักษาในปัจจุบันพบว่ามีหลากหลาย เช่น การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกทั้งหมดหรือบางส่วน โดยการทำ craniotomy, awake craniotomy หรือ endoscopic เป็นต้น การผ่าตัดสมองเป็นการผ่าตัดที่มีความยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ลึกและอันตราย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดตำแหน่งของพยาธิสภาพที่เนื้อสมองอย่างละเอียด เพื่อให้การผ่าตัดตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง และป้องกันการบาดเจ็บที่เนื้อสมองส่วนอื่นๆ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ดังนั้นจึงต้องมีการใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งในสมองแบบ stereotactic system เพื่อช่วยในการหาตำแหน่งของพยาธิสภาพของเนื้อสมองที่แน่นอน และแม่นยำในการวินิจฉัยและการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้น พยาบาลห้องผ่าตัดจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและการผ่าตัดประสบความสำเร็จ บทความฉบับนี้นิพนธ์จากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดสมองด้วยระบบนำวิถีแบบ frame-based และ frameless และการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด เพื่อเป็นประโยชน์แก่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้
Article Details
ลิขสิทธิ์: วารสารพยาบาลศาสตร์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์ไปเผยแพร่ในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น การนำบทความเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์
Disclaimer: เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารพยาบาลศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบแต่อย่างใด
References
2. Kongkham PN, Knifed E, Tamber MS, Bernstein M. Complications in 622 cases of frame-based stereotactic biopsy, a decreasing procedure. Can J Neurol Sci. 2008;35(1):79-84. doi: 10.1017/s0317167100007605.
3. Hickey JV. The clinical practice of neurological & neurosurgical nursing. 6th ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2009. 768 p.
4. Khampitak K. Computer aided surgery. Srinagarind Medical Journal [Internet]. 2009 [cited 2019 Aug 30];24(2):167-72. Available from: https://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1536. (in Thai).
5. Pillay PK. Image-guided intraoperative cranial localization. In: Andrews RJ, editor. Intraoperative neuroprotection. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 1996. p.395-422.
6. Rapalino O, Batchelor T, González RG. Intra-axial brain tumors. Handb Clin Neurol. 2016;135:253-74. doi: 10.1016/B978-0-444-53485-9.00014-3.
7. Millard NE, De Braganca KC. Medulloblastoma. J Child Neurol. 2016;31(12):1341-53. doi: 10.1177/0883073815600866.
8. Intharakamthonchai T. Secondary CNS Lymphoma. Thai Journal of Hematology and Transfusion Medicine. 2004;14(4):239-41. (in Thai).
9. Goodman T, Spry C. Essentials of perioperative nursing. 5th ed. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning; 2014. 376 p.
10. Kusum W. Critical care nursing: a holistic approach. 5th ed. Bangkok: Sahaprachapanich; 2013. 531 p. (in Thai).
11. American Association of Neurological Surgeons. Stereotactic brain biopsy [Internet]. Rolling Meadows, IL: American Association of Neurological Surgeons; 2019 [cited 2019 Aug 18]. Available from: https://www.aans.org/en/Patients/Neurosurgical-Conditions-and-Treatments/Stereotactic-Brain-Biopsy.