ผลของการประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นชื้นต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประคบเต้านมด้วยความร้อนชื้นแบบตื้นด้วย “ผ้าอุ่นกระตุ้นน้ำนม” ต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
วิธีดำเนินการวิจัย: มารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรกที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เกณฑ์การคัดเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มารดาตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ 18.5-24.9 กก/ม2 เต้านมและหัวนมปกติ ไม่มีโรคที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างและหลั่งน้ำนม มารดาและทารกมีสุขภาพแข็งแรง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการประคบเต้านมแบบอุ่นชื้น กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินการไหลของน้ำนมทุก 2-3 ชั่วโมง หรือเมื่อมารดารู้สึกว่าน้ำนมเริ่มไหล วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่น้ำนมเริ่มไหลโดยใช้สถิติทดสอบที
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเท่ากับ 30.89 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเท่ากับ 40.90 ชั่วโมง เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่น้ำนมเริ่มไหล พบว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองน้ำนมเริ่มไหลเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.49; p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: การประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นชื้นในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรกได้ และควรมีการพัฒนาผ้าอุ่นกระตุ้นน้ำนมให้สามารถเก็บความร้อนได้นานขึ้น รวมทั้งศึกษาถึงความถี่ และระยะเวลาในการประคบว่ามีผลต่อการเริ่มไหลของน้ำนมมารดาให้เร็วขึ้นหรือไม่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์: วารสารพยาบาลศาสตร์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์ไปเผยแพร่ในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น การนำบทความเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์
Disclaimer: เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารพยาบาลศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบแต่อย่างใด
References
Lawrence RA, Lawrence RM. Breastfeeding: a guide for the medical profession. 9th ed. Philadelphia, PA: Elsevier; 2021. 1088 p.
Walker M. Breastfeeding management for the clinician: using the evidence. 5th ed. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning; 2021. 750 p.
Huang L, Xu S, Chen X, Li Q, Lin L, Zhang Y, et al. Delayed lactogenesis is associated with suboptimal breastfeeding practices: a prospective cohort study. J Nutr. 2020;150(4):894-900. doi: 10.1093/jn/nxz311.
Jankaew K, Narumitmontri T. The effects of herbal milk nourishing medication on the levels of milk flow in postpartum mothers. Thai Journal of Public Health and Health Sciences. 2020;3(2):41-51. (in Thai).
Murray H, McKinney E, Holub K, Jones R. Foundations of maternal newborn and women's health nursing. 7th ed. St. Louis, MO: Elsevier: 2018. 880 p.
Panngam N, Theerasopon P, Ungpansattawong N. The effect of warm moist polymer gel pack compression on the onset of milk production in primiparous mothers. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2016;27(1):28-38. (in Thai).
Kent JC, Prime DK, Garbin CP. Principles for maintaining or increasing breast milk production. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs. 2012;41(1):114-21. doi: 10.1111/j.1552-6909.2011.01313.x.
Riddle SW, Nommsen-Rivers LA. Curr Opin Pediatr. 2017;29(2):249-56. doi: 10.1097/MOP.0000000000000468.
Chang P-C, Li S-F, Yang H-Y, Wang L-C, Weng C-Y, Chen K-F, et al. Factors associated with cessation of exclusive breastfeeding at 1 and 2 months postpartum in Taiwan. Int Breastfeed J. 2019;14:18 doi: 10.1186/s13006-019-0213-1.
Grzeskowiak LE, Wlodek ME, Geddes DT. What evidence do we have for pharmaceutical galactagogues in the treatment of lactation insufficiency? - A narrative review. Nutrients. 2019;11(5):974. doi: 10.3390/nu11050974.
UNICEF UK. Getting breast feeding off to a good start [Internet]. London: UNICEF UK; 2020 [cited 2021 Mar 20]. Available from: https://www.unicef.org.uk/babyfriendly/wp-content/uploads/sites/2/2020/04/Unicef-UK-Baby-Friendly-Initiative-education-refresher-sheet-2.pdf.
Suwikrom S, Jaisamuth N, Poonsawad P. Acupuncture to boost breast milk in postpartum hypogalactia: randomized controlled trial. J Med Assoc Thai. 2021;104(12):1930-6. doi: 10.35755/jmedassocthai.2021.12.13045.
Foong SC, Tan ML, Foong WC, Marasco LA, Ho JJ, Ong JH. Oral galactagogues (natural therapies or drugs) for increasing breast milk production in mothers of non-hospitalised term infants. Cochrane Database Syst Rev. 2020;5(5):CD011505. doi: 10.1002/14651858.CD011505.pub2.
Srifa U. The effect of breast milk quantity, and the successfulness of breastfeeding in Koh Samui Hospital. Journal of MCU Nakhondhat. 2020;7(11):94-103. (in Thai).
Pakdeechot S, Morarad R, Sakontarat P. The effect of increasing milk production program on secretion time of colostrum in postpartum mothers, Sakon Nakhon Hospital. Journal of Health Science. 2010;19(2):279–87. (in Thai).
Trinapakul C, Chaiyawattana M, Kanavitoon W, Tiumtaogerd R, Naka S, Mitrniyodom W, et al. Effect of milk ejection performance of postpartum mothers after breasts massage and compression with mini hot bag and herbal compress. Journal of Nursing and Education. 2010;3(3):75-91. (in Thai).
Phon-ngam N, Mankong R. The effects of hot moist gel pack breast compression combined with nipple stimulation on the onset of milk ejection and milk flow among cesarean section mothers with sick babies. Thai Red Cross Nursing Journal. 2021;14(1):156-69. (in Thai).
Nadler SF, Weingand K, Kruse RJ. The physiologic basis and clinical applications of cryotherapy and thermotherapy for the pain practitioner. Pain Physician. 2004;7(3):395-9.
Desakorn V, Sahassananda D. Sampling and concealment. In: Pitisuttithum P, Pichiensunthorn C, editors. Textbook of clinical research (fourth edition revised and expanded). Bangkok: Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University; 2018. p.229-60. (in Thai).
Niwatayakul R. Optimizing the flow of breast milk project. Paper presented at: Breastfeeding: Fundamental for Brain Development. Proceeding of the 1st Thai National Breastfeeding Meeting; 2005 Dec 14-16; Bangkok. (in Thai).
Lisien C-F, Fu J-C, Long C-Y, Lin H-S. Factors influencing breast symptoms in breastfeeding women after cesarean section delivery. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci). 2011;5(2):88-98. doi: 10.1016/S1976-1317(11)60017-0.