Comparisons of Body Mass Index, Chronic Stress, Health Literacy, Patient Engagement and Perception of Person-Centred Care between Recurrent and Non-Recurrent Urolithiasis Patients
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Purposes: To compare body mass index, chronic stress, health literacy, patient engagement and perception of person-centred care between recurrent and non-recurrent urolithiasis patients.
Design: Comparative descriptive research design.
Methods: The samples consisted of patients with urolithiasis after complete removal of stone at least six months, 150 recurrent and 150 non-recurrent. Data were collected using 5 questionnaires: Personal data record form, Perceived Stress scale, Health Literacy Questionnaire, Patient Activation Measure, and the Consultation Care Measure. Data were analyzed using descriptive statistics and a comparison Z-test.
Main Findings: The findings showed that non-recurrent urolithiasis patients perceived chronic stress at low level (X = 6.25, SD = 4.86); an average score of health literacy was 439.21 (SD = 39.78), patient engagement was high level (X = 63.88, SD = 12.90) while those with recurrent urolithiasis perceived chronic stress at medium level (X = 12.75, SD = 5.23), an average score of health literacy was 336.07 (SD = 41.22 ), patient engagement was low level (X = 40.33, SD = 9.44). All of the three factors were significant different (p < .05) between two groups. While body mass index and the perception of a person-centred care were not significant different between two groups.
Conclusion and recommendations: Nurses should organize health-promoting activities for urolithiasis patients during and after stone removal using various methods to reduce chronic stress, promote health literacy and patient engagement in order to prevent recurrent urolithiasis.
Keywords: body mass index, chronic stress, health literacy, patient engagement, person-centred care, urolithiasis patients
เปรียบเทียบดัชนีมวลกาย ความเครียดเรื้อรัง ความแตกฉานทางสุขภาพ ความรับผิดชอบของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางระหว่างผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำและผู้ที่ไม่เป็นซ้ำ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบดัชนีมวลกาย ความเครียดเรื้อรัง ความแตกฉานทางสุขภาพ ความรับผิดชอบของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง ระหว่างผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำ และผู้ที่ไม่เป็นซ้ำ
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงบรรยายเปรียบเทียบ
วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะที่มาติดตามอาการภายหลังรักษานิ่วครั้งแรกออกหมดมีระยะเวลาห่างจากการรักษาครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน กลุ่มที่เป็นนิ่วซ้ำ และไม่เป็นซ้ำ กลุ่มละ 150 ราย รวมทั้งหมด 300 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้ความเครียด แบบประเมินความแตกฉานทางสุขภาพ แบบประเมินความรับผิดชอบของผู้ป่วย และ แบบประเมินการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นนิ่วซํ้ามีความเครียดเรื้อรังอยู่ในระดับตํ่า (X = 6.25, SD = 4.86) มีความแตกฉานทางสุขภาพเท่ากับ 439.21 (SD = 39.78) มีความรับผิดชอบของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง (X = 63.88, SD = 12.90) ในขณะกลุ่มที่เป็นนิ่วซํ้ามีความเครียดเรื้อรังระดับปานกลาง (X = 12.75, SD = 5.23) มีความแตกฉานทางสุขภาพเท่ากับ 336.07 (SD = 41.22 ) มีความรับผิดชอบของผู้ป่วยอยู่ในระดับต่ำ (X = 40.33, SD = 9.44) ซึ่งทั้งสามปัจจัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มเป็นนิ่วซํ้าและไม่เป็นซํ้า สำหรับดัชนีมวลกายและการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางระหว่างกลุ่มเป็นนิ่วซ้ำ และไม่เป็นซ้ำความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและบุคคลากรทางสุขภาพควรตระหนัก และให้การดูแลผู้ป่วยโดยลดความเครียดเรื้อรัง ส่งเสริมความแตกฉานทางสุขภาพ และความรับผิดชอบของผู้ป่วยทั้ง ขณะและภายหลังการรักษาเอานิ่วออก เพื่อป้องกันการกลับเป็นนิ่วซ้ำ
คำสำคัญ: ดัชนีมวลกาย ความเครียดเรื้อรัง ความแตกฉานทางสุขภาพ ความรับผิดชอบของผู้ป่วย การรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
Article Details
ลิขสิทธิ์: วารสารพยาบาลศาสตร์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์ไปเผยแพร่ในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น การนำบทความเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์
Disclaimer: เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารพยาบาลศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบแต่อย่างใด