เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความต้นฉบับที่ส่งอยู่ในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ความยาวของบทความมีความยาวทั้งหมด 8-12 หน้าของกระดาษขนาด A4 (รวมเอกสารอ้างอิง) โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 14pt
  • ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาภาษาอังกฤษจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ และให้แนบไฟล์เอกสารรับรองในรูปแบบ pdf
  • บทความต้นฉบับที่ส่งมารับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพจะต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ หรือกำลังอยู่ในระหว่างการประเมินของวารสารใดมาก่อน
  • บทความวิจัยที่มีการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง จะต้องผ่านการอนุมัติจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Institutional Review Board, IRB) หรือคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองตามแต่กรณี โดยระบุเลขที่อนุมัติภายในเนื้อหาของบทความในหัวข้อจริยธรรมการวิจัย และให้แนบไฟล์เอกสารการอนุมัติจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือ การอนุมัติจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลอง ในรูปแบบ PDF
  • ผ่านการตรวจสอบการคัดลอกผลงานด้วยโปรแกรม Turnitin/Copyleaks/iThenticate หรือโปรแกรมอื่นๆ และให้แนบไฟล์ผลการตรวจสอบในรูปแบบ pdf
  • รายการเอกสารอ้างอิงครบถ้วนตามที่อ้างอิงในเนื้อหาและถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด (Vancouver Style)
  • ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความวิจัยเพื่อขอตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร จะต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ตามที่วารสารกำหนดเมื่อท่านได้รับการตอบรับว่าบทความของท่านเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

คำแนะนำการเตรียมและส่งต้นฉบับเพื่อลงตีพิมพ์

วารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

          กองบรรณาธิการวารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีความยินดีที่จะรับบทความวิชาการและบทความวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และนวัตกรรมทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเผยแพร่ความรู้การดูแลสุขภาพ โดยเน้นการดูแลต่อเนื่องและการใช้นวัตกรรมในการพยาบาล รวมทั้งการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ที่ให้องค์ความรู้ใหม่ในการนำไปปรับปรุงการพยาบาลและสุขภาพของประชาชน จากนักศึกษา อาจารย์ พยาบาล และนักวิชาการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งต้นฉบับทุกเรื่องต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกคณะฯ (internal and external reviewers) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพยาบาลโดยเฉพาะ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญงานในสาขาต่าง ๆ ก่อนตีพิมพ์ อย่างน้อย 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ (double-blind peer review) วารสารนี้เป็นวารสารราย 4 เดือน กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ กองบรรณาธิการขอแนะนำการเขียนและการเตรียมต้นฉบับ ดังนี้

ประเภทเรื่องที่จะตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการที่รวบรวมหรือเรียบเรียงจากเอกสาร กรณีศึกษาหรือหนังสือต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ งานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและการสาธารณสุข
  2. บทความวิจัยทางการพยาบาลและการสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิจัยนั้น จะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการเก็บข้อมูล รวมทั้งกระบวนการวิจัยต้องผ่านการพิจารณาและรับรองด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

เงื่อนไขในการพิจารณาผลงาน

1. ผลงานวิจัยที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรือไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2. ผลงานที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบการเขียน abstract ให้สอดคล้องกับบทคัดย่อ และถูกหลักภาษาอังกฤษ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาที่เป็นเจ้าของภาษา หรือชาวไทยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากต่างประเทศ พร้อมมีหนังสือรับรองการ edit ภาษา  

3. ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และต้องแนบสำเนาหนังสือรับรองการอนุมัติจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB) หรือคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลอง (IACUC) ตามแต่กรณี (เฉพาะบทความวิจัย)

4. ต้องผ่านการตรวจสอบการคัดลอกผลงานด้วยโปรแกรม Turnitin/Copyleaks/iThenticate หรือโปรแกรมอื่นๆ และให้แนบไฟล์ผลการตรวจสอบในรูปแบบ pdf

5. เอกสารอ้างอิงครบถ้วน และถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด (บทความวิชาการ 20-30 เรื่อง บทความวิจัย 25-30 เรื่อง) และต้องแนบหลักฐานรายการเอกสารอ้างอิง (รวบรวมเป็น 1 ไฟล์) เอาเฉพาะหน้าแรกของบทความ/เว็บไซต์ หากเป็นหนังสือให้เพิ่มเติมหน้าข้อมูลทางบรรณานุกรมมาด้วย โดยเรียงลำดับตั้งแต่รายการแรกจนถึงรายการสุดท้ายตามลำดับของการอ้างอิงท้ายบทความ

6. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบผลการพิจารณา เพื่อตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยขอให้ผู้นิพนธ์ส่งผลงานที่แก้ไขกลับคืนมายังกองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด

7. กองบรรณาธิการจะพิจารณาต้นฉบับที่ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดเท่านั้น

8. ถ้าบทความเข้าสู่กระบวนการการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้นิพนธ์ไม่สามารถยกเลิกการตีพิมพ์บทความได้

9. สามารถส่งบทความเป็นไฟล์ Microsoft Word (นามสกุล .doc หรือ .docx) พร้อมกับแนบไฟล์ pdf เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารผ่านทางระบบ ThaiJO ได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu

 

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

      การเขียนบทความต้นฉบับ ต้องมีข้อมูลการเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้

  1. ส่วนนำ ประกอบด้วย

           1.1 ชื่อเรื่องควรสั้นและให้ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์ และขอบเขตเนื้อเรื่อง ความยาวไม่เกิน 100 ตัวอักษร ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับชื่อเรื่องภาษาอังกฤษต้องขึ้นต้นข้อความด้วยอักษรใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำบุพบท (preposition) ไม่ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ จัดกลางหน้ากระดาษ ใช้อักษรตัวหนา ขนาดตัวอักษร TH Sarabun PSK 16 point

           1.2 ชื่อเรื่องอย่างย่อ หรือ running title ภาษาไทยและอังกฤษ (ความยาวไม่น้อยกว่า 30 และ ไม่เกิน 45 ตัวอักษร)

           1.3 ชื่อ-นามสกุลผู้นิพนธ์ ตำแหน่งทางวิชาการ และสถานที่ทำงาน ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชิดขวา ขนาดตัวอักษร TH Sarabun PSK 14 point

           1.4 ชื่อที่อยู่อีเมลผู้รับผิดชอบหลัก ชิดขวา ขนาดตัวอักษร TH Sarabun PSK 14 point

           1.5 ให้เขียนตัวเลขอารบิกยก (superscript) ไว้บนนามสกุลเพื่อระบุว่าเป็นตำแหน่งและสถานที่ทำงานของผู้นิพนธ์ท่านใด

           1.6 ให้เขียนสัญลักษณ์ตัวยก (superscript) * ไว้บนนามสกุลผู้รับผิดชอบหลัก

  1. บทคัดย่อ (Abstract)

           บทความวิชาการ

           เนื้อหาบทคัดย่อ ไม่ควรเกิน 300 คำ ใช้ภาษารัดกุม โดยบทความภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ต้องสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย และเรียงตามลำดับเนื้อหา ดังนี้

  • บทนำ (Introduction)
  • สรุป (Conclusion)

            บทความวิจัย

            เนื้อหาบทคัดย่อ ไม่ควรเกิน 300 คำ โดยบทความภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษต้องสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย และเรียงตามลำดับเนื้อหา ดังนี้

  • วัตถุประสงค์ (Objectives)
  • วิธีการ Methods (objective, design, samples, tools, data collection and data analysis)
  • ผลการศึกษา (Results)
  • สรุป (Conclusion)
  1. คำสำคัญ (Keywords)

           ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 3-5 คำ โดยเรียงตามลำดับเนื้อหา และใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างคำ

  1. เนื้อหา (Main document)

           บทความวิชาการ

           ต้นฉบับมีความยาวทั้งหมด 8-10 หน้า รวมเอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร TH Sarabun PSK 14 point (single-space) เรียงลำดับ ดังนี้

  • บทนำ (Introduction) ควรประกอบด้วยหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ขอบเขตของเรื่องและคำจำกัดความ หรือนิยามต่าง ๆ
  • เนื้อหา (Contents) เป็นส่วนของเรื่องราวที่นำเสนอ แบ่งเป็นประเด็นหลัก ประเด็นรอง และประเด็นย่อย โดยสอดแทรกแนวคิด ทัศนคติ และแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ โดยอ้างอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
  • สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน และกระชับโดยมีการสรุปปิดท้ายเนื้อหาที่เราได้นำเสนอไปแล้วว่ามีผลดี หรือผลเสียอย่างไร
  • ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ (Recommendations and implications) เป็นข้อเสนอแนะ ในการนำผลการวิจัยไปใช้หรือไปปฏิบัติ
  • การมีส่วนร่วมในการเขียนบทความ (Participation in article writing) เป็นการระบุ
    การมีส่วนร่วมของผู้เขียน
  • การมีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) การเปิดเผยการได้รับผลประโยชน์ ต่าง ๆ ของผู้เขียน
  • แหล่งทุนสนับสนุน (ถ้ามี) (Identification of funding sources)
  • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) กล่าวเพียงสั้น ๆ เช่น แหล่งทุนสนับสนุนการศึกษาจากหน่วยงานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนอกเหนือจากงานประจำ
  •  
  • เอกสารอ้างอิง (References) จำนวน 20-30 รายการ โดยใช้รูปแบบแวนคูเวอร์  
     (Vancouver style) เท่านั้น
  • ตาราง ภาพ และแผนภูมิ (ไม่เกิน 1-2 ตาราง ภาพ และแผนภูมิ)

            บทความวิจัย

            ต้นฉบับมีความยาวทั้งหมด 8-12 หน้า รวมเอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร TH Sarabun PSK 14 point (single-space) เรียงลำดับ ดังนี้

  • ความสำคัญของปัญหา (Significance of the problem) นำเสนอที่มา ปัญหา แนวคิดหรือความจำเป็นในการทำวิจัย กล่าวถึงสถานะของปัญหาวิจัยหรือประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนอ
  • คำถามการวิจัย (Research question) คำถามที่นักวิจัยกำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบ ซึ่งจะนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหาวิจัย นิยมตั้งคำถามวิจัยว่า
  • วัตถุประสงค์การวิจัย (Objectives) มีความชัดเจน วัดได้สอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา
  • รูปแบบการศึกษา (Research design)
    -
    สมมติฐาน (Research hypothesis) (ถ้ามี) ข้อความที่กำหนดขึ้น เพื่อคาดคะเนผลการวิจัยว่าจะเป็นลักษณะใด
    -กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual framework) (ถ้ามี) แนวคิดสำคัญ หลักการสำคัญ ที่กำหนดขึ้นจากการประมวลมาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • วิธีการดำเนินการวิจัย (Methods)

     - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and sample)

     - จริยธรรมในการวิจัย (Ethical consideration)

     - การเก็บรวบรวมข้อมูล/เครื่องมือในการวิจัย (Data collection instrument)

     - วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)

     - ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย การใช้ตารางหรือแผนภูมิไม่ควรเกิน 3 ตารางหรือแผนภูมิ โดยมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบอย่างชัดเจน

     - การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) ผสมผสานเปรียบเทียบและตีความผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย

     - ข้อจำกัดของการศึกษา (Limitation) เป็นข้อคาดการณ์บางสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่อาจควบคุมได้ในงานวิจัย เช่น ข้อมูล แหล่งข้อมูล วิธีการที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมได้ในการวิจัย ทำให้การศึกษานั้นไม่สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

     - สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน และกระชับโดยมีการสรุป ปิดท้ายเนื้อหาที่เราได้นำเสนอไปแล้วว่ามีผลดี หรือผลเสียอย่างไร

     - ข้อเสนอแนะและการนำไปใช้ (Recommendations and implications) เป็นข้อเสนอแนะ ในการนำผลการวิจัยไปใช้หรือไปปฏิบัติ

  • การมีส่วนร่วมในการเขียนบทความ (Participation in article writing) เป็นการระบุการมีส่วนร่วมของผู้เขียน
  • การมีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) การเปิดเผยการได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้เขียน
  • แหล่งทุนสนับสนุน (Identification of funding sources) (ถ้ามี)
  • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) กล่าวเพียงสั้น ๆ เช่น แหล่งทุนสนับสนุนการศึกษา จากหน่วยงานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนอกเหนือจากงานประจำ
  • เอกสารอ้างอิง (References) จำนวน 25-30 รายการ โดยใช้รูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) เท่านั้น
  • ตาราง ภาพ และแผนภูมิ (ไม่เกิน 3 ตาราง ภาพ และแผนภูมิ)

 

การเขียนเอกสารอ้างอิงตามแบบ Vancouver Style

            การเขียนเอกสารอ้างอิงตามระบบของแวนคูเวอร์ สำหรับวารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ แหล่งอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยให้ปรับเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และเขียนตามรูปแบบภาษาอังกฤษ ทั้งชื่อผู้แต่ง ให้ใช้นามสกุล ตามด้วยชื่อ และใช้ ปี ค.ศ. โดยการปรับปี พ.ศ. เป็น ค.ศ. แล้วเติมท้ายข้อความท้ายเอกสารอ้างอิงว่า “Thai”   

            สำหรับการใช้ชื่อย่อวารสารไทยเป็นภาษาอังกฤษ สามารถค้นหาชื่อย่อของวารสารภาษาไทยที่อยู่ในฐาน TCI ได้ที่ https://tci-thailand.org/list%20journal.php หากไม่ได้อยู่ในฐาน TCI ให้ใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษของวารสารนั้น ๆ สำหรับการค้นหาชื่อย่อของวารสารภาษาอังกฤษ ได้จาก https://www.nlm.nih.gov ทั้งนี้หากวารสารไม่มีชื่อย่อให้ใช้ชื่อเต็มภาษาอังกฤษของวารสาร

          ทั้งนี้ ข้อมูลที่เป็นแหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือและทันสมัยไม่เกิน 10 ปี ยกเว้นหนังสือตำราบางประเภทที่เป็นทฤษฎีหรือปรัชญา และควรอ้างอิงบทความวิชาการ บทความวิจัยจากวารสารไทยและต่างประเทศ

การเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (In-Text citation)

การเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (In-Text citation) ใช้เครื่องหมายสำหรับอ้างอิงเนื้อหาเป็นตัวเลข  อารบิกยก (superscript) ดังนี้

  1. แบบอ้างอิงเน้นผู้เขียน ใส่เลขอารบิกยกหลังชื่อผู้เขียน ตัวอย่างเช่น Walker1
  2. แบบผู้เขียนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ให้ใส่ตัวเลขตามหลังข้อความที่อ้างอิง ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็งในเด็ก พบว่ามีอุบัติการณ์สูงถึงร้อยละ 101
  3.  อ้างอิงหลายรายการ (multiple reference) ในที่เดียวกันให้ใส่  “ - ” หรือ  “ , ” ระหว่างตัวเลข ตัวอย่างเช่น  จากการทบทวนงานวิจัย1,5,6  สอดคล้องกับการศึกษาการดำเนินชีวิตของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด17,23
  4. หมายเลขที่อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ต้องเรียงลำดับตัวเลขตั้งแต่เลข 1, 2, 3, … ไปจนจบเอกสาร หากต้องการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เคยอ้างแล้วก่อนหน้า ให้ใส่หมายเลขเดิมที่เคยอ้างไว้
  5. หมายเลขที่อ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา จะต้องตรงกับหมายเลขที่อ้างอิงในส่วนท้ายของบทความ
  6. การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาถ้าผู้เขียน 2 คน ให้ใส่ผู้เขียนทั้ง 2 คน และเชื่อมด้วยคำว่า and เช่น Thasaneesuwan and Nilmanat
  7. การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาถ้าผู้เขียน 3 คน ให้ใส่ผู้เขียนทั้ง 3 คน และเชื่อมด้วย “ , ” และ and เช่น Yodchai, Thasaneesuwan and Nilmanat
  8. การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาถ้าผู้เขียนมากกว่า 3 คน ให้ใส่แค่ชื่อคนแรกแล้วตามด้วย et al. เช่น Ingsathit, et al.

 

การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

บทความวารสาร  (Articles in journals) โดยมีการเขียนรูปแบบหลัก ดังนี้

เครื่องหมาย \ หมายถึงเว้นวรรคเล็ก 1 ระยะ (1 เคาะ)

ชื่อผู้แต่ง.\ชื่อบทความ.\ชื่อย่อวารสาร.\ปีที่พิมพ์;\เล่มที่ของวารสาร(ฉบับที่):\หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

Authors.\Title of the Article.\ Journal Abbreviation.\Year;\Volume(Issue):\Page.\doi.

        1. สำหรับผู้แต่งไม่เกิน 3 คน ให้ลงรายการทุกคน

             ตัวอย่าง

Shohani M, Zamanzadeh V. Nurses’ attitude towards professionalization and factors influencing It. J Caring Sci. 2017; 6(4): 345-57. doi: 10.15171/jcs.2017.033.

        2. สำหรับผู้แต่ง มากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ลงรายการเพียง 3 คน ตามด้วย “et al.”

             ตัวอย่าง

Deshmukh PP, Singh MM, Deshpande MA, et al. Clinical and angiographic profile of very young adults presenting with first acute myocardial infarction: Data from a tertiary care Center in Central India. Indian Heart J. 2019; 71(5): 418-21. doi: 10.1016/j.ihj.2019.12.004.

        3. สำหรับวารสารภาษาไทย ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยลงท้าย ด้วย “Thai”

             ตัวอย่าง

Thasaneesuwan S, Nilmanat K. Psychological distress in patient with cancer undergoing chemotherapy and nursing care. Songklanagarind J Nurs. 2019; 39(4): 111-20. Thai.

        4. กรณีผู้เขียนเป็นหน่วยงาน

             ตัวอย่าง

American Academy of Pediatrics. Level of neonatal care. Pediatrics. 2012; 114(5): 1341-7.

        5. กรณีฉบับเสริม

             ตัวอย่าง

Kala S, Khaonark R. Breastfeeding in postpartum mothers of sick Newborns. Songklanagrind J Nurs. 2016; 36(Suppl): 196-208. Thai.

        6. กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นฉบับย่อ (Issue) ที่มีฉบับเสริม (Supplement)

             ตัวอย่าง

Singh H, Banipal R. Psychological distress in cancer patient during chemotherapy: A crosssectional study. J Clin Oncol. 2016; 34(26 Suppl): 231.

 

หนังสือ (Books) โดยมีการเขียนรูปแบบหลัก ดังนี้

เครื่องหมาย \ หมายถึงเว้นวรรคเล็ก 1 ระยะ (1 เคาะ)

ชื่อผู้แต่ง.\ชื่อหนังสือ.\ครั้งที่พิมพ์.\สถานที่พิมพ์: \สำนักพิมพ์.\ปีที่พิมพ์.

Authors.\Title of the Book.\Edition.\Place of Publication:\Publisher;\Year.

    ตัวอย่าง

Hickey JV. The clinical practice of neurological and neurosurgical nursing. 7 th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2014.

Schneider RK, Levenson JL. Psychiatry essentials for primary care. Philadelphia: American College of Physicians; 2008.

ผู้แต่งเป็นบรรณาธิการรวบรวม

             ตัวอย่าง

Dulcan MK, editor. Dulcan's text book of child and adolescent psychiatry. Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2010.

บทที่อยู่ในหนังสือ

             ตัวอย่าง

Hamrin V, Deering CG. Mental health assessment of children and adolescents.  In: Boyd MA, editor. Psychiatric nursing contemporary practice enhanced update. 5 th ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer; 2015.

           สำหรับหนังสือภาษาไทย  ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยลงท้าย ด้วย  “Thai”

             ตัวอย่าง

Phattharayuttawat S. Manual of psychological testing. 5 th ed. Bangkok: Teetap;  2013. Thai.  

 

โฮมเพจ เว็บไซต์ (Homepage/ Website)

เครื่องหมาย \ หมายถึงเว้นวรรคเล็ก 1 ระยะ (1 เคาะ)

ชื่อผู้แต่ง.\ชื่อเรื่อง\[อินเทอร์เนต].\สถานที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์;\ปีที่พิมพ์\[วันที่ citation].\ Available from:\URL ของ website

Author.\Title\[Internet].\Place of Publication:\Publisher;\Year\[cited Year Month Date].\Available from:\URL

          ตัวอย่าง

Trangkasombat U. Children's Depression Inventory (CDI) [Internet]. Bangkok: Department of Mental Health; 2016 [cited 2016 Apr 4]. Available from: http://www.dmh.go.th/test/cesd/depress/

Autisticthai.com. [homepage on the Internet]. Bangkok: Foundation for Autistic Thailand 2016 [updated 4 Apr 2016; cited 2016 Apr 4]. Available from: http://www.autisticthai.com/index.php

 

วิทยานิพนธ์ (Dissertation/Thesis) โดยมีการเขียน รูปแบบหลัก ดังนี้

  เครื่องหมาย \ หมายถึงเว้นวรรคเล็ก 1 ระยะ (1 เคาะ)

ชื่อผู้แต่ง.\ชื่อวิทยานิพนธ์\[รูปแบบ].[สถานที่พิมพ์]: สำนักพิมพ์;\ปีที่พิมพ์.\จำนวนหน้าทั้งหมด.

Authors.\Title of Thesis\[Book Type].[Place of Publication]:\Publisher;\Year.\Total Number of Page.

ตัวอย่าง

Sunpaweravong J. Development of a Thai-Epressed Emotion Scale (TEES) for family caregivers of schizophrenia patients [dissertation].[Songkhla]: Prince of Songkla University; 2007. 173 p.

Kaewngoen T. The effects of resiliency enhancement program on resilience level of patients with major depressive disorders [master’s minor thesis].[Songkhla]: Prince of Songkla University; 2013. 105 p.

ข้อสังเกต

  1. ชื่อของเรื่องจะใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นตัวอักษรแรกและชื่อเฉพาะ
  2. ชื่อวารสารจะใช้เป็นชื่อย่อ โดยต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน index medicus ซึ่งจะหาดูได้ตามห้องสมุดใหญ่ทั่วไป เช่น ตามโรงเรียนแพทย์ หรือสืบค้นข้อมูลจาก internet เว็บไซต์ของ national library of medicine ที่ https://www.nlm.nih.gov
  3. การเขียนครั้งที่พิมพ์ ลำดับที่ (st, nd, rd และ th) ไม่ต้องทำเป็นตัวยก (superscript) ตัวอย่างเช่น 2 nd ed
  4. ตัวเลขหน้าใช้ตัวเต็มสำหรับหน้าแรก และตัวย่อสำหรับหน้าสุดท้าย เช่น

การอ้างอิงหน้า 980-983 ให้เขียนเป็น 980-3

การอ้างอิงหน้า 788-793 ให้เขียนเป็น 788-93

  1. การอ้างอิงเอกสารท้ายบทความ ให้เรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างถึงในบทความ 1, 2, 3, … จนถึงลำดับสุดท้าย ตามการเรียงลำดับอ้างอิงในเนื้อหา
  2. ชื่อผู้แต่งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใส่ชื่อสกุล และเว้น 1 ระยะตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลางติดกัน เช่น Thasaneesuwan S

สำหรับเอกสารรายละเอียดของเอกสารอ้างอิง Vancouver style ทั้งหมดอ้างโดย Citing Medicine: The NLM Style Guide for Authors, Editors, and Publishers [Internet]. 2nd edition. (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK7271/)

          โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 เป็นต้นไป  

----------------------------------------------------------------------

 ตรวจสอบสิ่งที่ส่งตามรายการต่อไปนี้

     (    )  ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์ Microsoft Word (นามสกุล .doc หรือ .docx) ขนาด A4 ใช้ตัวอักษร TH Sarabun    
 PSK 14 บทความวิชาการ จำนวน 8-10 หน้า บทความวิจัย จำนวน 8-12 หน้า ส่งผ่านระบบ ThaiJO ได้ที่  https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/about/submissions

     (    )  หนังสือรับรองจริยธรรม (IRB/IACUC)

     (    )  หนังสือรับรองการ edit ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (บทคัดย่อ/abstract ไม่เกิน 300 คำ)

     (    )  ผลการตรวจ Turnitin/Copy leaks

     (    )  คำสำคัญ / keywords จำนวน 3-5 คำ

     (    )  รายการอ้างอิง มีความทันสมัยไม่ควรเกิน 10 ปี ครบถ้วนในเนื้อหา และถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด (บทความวิชาการ 20-30 เรื่อง บทความวิจัย 25-30 เรื่อง รวบรวมเป็น 1 ไฟล์)

 

งานวารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โทร 074-286452  l โทรสาร 074-286422 l E-mail: sjnpsu@gmail.com