ผลของโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพ ด้านโภชนาการและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มีภาวะขาดสารอาหาร

Main Article Content

กันตพร ยอดใชย
ผาณิกา ทองสง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะขาดสารอาหาร ที่โรงพยาบาลทุติยภูมิในภาคใต้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 57 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 29 ราย และกลุ่มทดลอง 28 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ให้ญาติ/ผู้ดูแลมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลภาวะโภชนาการ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ .80 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพด้วยสถิติเชิงพรรณา สถิติไคสแควร์ และการทดสอบของฟิชเชอร์ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทีอิสระ และสถิติทีคู่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะขาดสารอาหาร ที่โรงพยาบาลทุติยภูมิในภาคใต้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 57 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 29 ราย และกลุ่มทดลอง 28 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ให้ญาติ/ผู้ดูแลมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลภาวะโภชนาการ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ .80 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพด้วยสถิติเชิงพรรณา สถิติไคสแควร์ และการทดสอบของฟิชเชอร์ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทีอิสระ และสถิติทีคู่


ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและภาวะโภชนาการในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการสูงกว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 25.01, p< .001 และ t= 5.19, p< .001 ตามลำดับ) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=17.77, p< .001) สำหรับภาวะโภชนาการในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการกับกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=1.94, p> .05)


ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ โดยญาติ/ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Wongprakod S, Wattanakitkrilert D, Pongthavornkamol K. The development of a clinical nursing practice guideline to support nutritional status in patients with chronic obstructive pulmonary disease at stable stage. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 2009; 20(1):1-15. Thai.

Hodson M. Integrating nutrition into pathways for patients with COPD. Br J Community Nurs. 2016; 21(11): 548-52.

Jaiyen K. Selective factors related to health behaviors of Muslim patients with chronic obstructive pulmonary disease in the three southern border provinces [dissertation]. [Songkhla]: Prince of Songkla University; 2014. 121 p.

Moonwong T. Health promoting behaviors among the patient with chronic obstructive pulmonary disease. J Nurs Health Sci. 2012; 6(1): 75-83.

Rojsangruang R. Nutritional management in COPD [internet]. Bangkok; 2014 [cited 2018 Jul 8]. Available from: https://www.slideserve.com/vonda/nutritional-management-in-copd

Wells JR, Anderson ST. Self-efficacy and social support in African Americans diagnosed with end stage renal disease. ABNF Journal. 2011; 22(1): 9-12.

Wattanakitkrilert D. Nutritional care in patients with chronic obstructive pulmonary disease. J Nurs Sci. 2010; 28(3):13-21.

Pender N, Murdaugh C, Parson MA. Health promotion in nursing practice. 6th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson; 2011.

Pattarakantakul P, Donlao J. Effects of nutritional promotion program for chronic obstructive pulmonary disease patients with malnutrition. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2017; 27(2): 69-79. Thai.

Buys DR, Campbell AD, Godfryd A, et al. Meals enhancing nutrition after discharge: Findings from a pilot randomized controlled trial. J Acad Nutr Diet. 2017; 117(4): 599-608.

Farooqi N, Nordström L, Lundgren R, et al. Changes in body weight and physical performance after receiving dietary advice in patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD): 1-year follow-up. Arch Gerontol Geriatr. 2011; 53: 70-5.

Laudisio A, Costanzo L, Di Gioia C, et al. Dietary intake of elderly outpatients with chronic obstructive pulmonary disease. Arch Gerontol Geriatr. 2016; 64: 75-81.

Ozeki T, Fujita Y, Kida K. Protein malnutrition in elderly patients with chronic obstructive pulmonary disease. Geriatr Gerontol Int. 2002; 2: 131-37.

Polit DF, Beck CF. Nursing research: Genrating and assessing evidence for nursing practice. 9 th ed. Philadelphia: Lippincott William & Wilkins; 2012.

Phonthep N, Wongpiriyayothar A, Sittipakorn. Effects of a rehabilitation program on functional capacity among chronic obstructive pulmonary disease patients with malnutrition. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division. 2013; 31(2): 44-53. Thai.

Khakhuen S, Jitramontree N, Wirojratana V, et al. Effect of the self-efficacy program on health behavior among older adults with chronic obstructive pulmonary disease. The Journal of Barommarajonani College of Nursing. 2018; 24(1); 57-71. Thai.

Rooney K, Cummins P. A service review of dietetic input for chronic obstructive pulmonary disease patients on long-term oral nutritional support. J Hum Nutr Diet. 2011; 24: 302-3.

Itoh M, Tsuji T, Nemoto K, et al. Under nutrition in patients with COPD and its treatment. Nutrients. 2013; 5: 1316-35.

Nordén J, Grönberg AM, Bosaeus I, et al. Nutrition impact symptoms and body composition in patients with COPD. Eur J Clin Nutr. 2015; 69(2): 256-61.

Kaewpitul S, Kaewpitul N. Nutritional status of elderly in Surin province [dissertation]. [Nakhon Ratchasima]: Suranaree University of Technology; 2012. 38 p. Thai.