การพัฒนารูปแบบการดูแลโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เสกสรรค์ จวงจันทร์ โรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
  • กมลรัตน์ จูมสีมา โรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
  • วีระชาติ วรธรรม โรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การดูแล, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการดูแลโรคหลอดเลือด สมอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทการดูแลพัฒนา รูปแบบ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการ ดูแลโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอโนนคูณ ระยะเวลา ดำเนินการ เดือนกรกฎาคม 2561 ถึง กรกฎาคม 2562 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม รวม 195 คน ดังนี้ 1) สหสาขาวิชาชีพที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแล 27 คน 2) ผู้มีส่วนได้ เสีย คือ ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ จำนวน 24 คน ญาติหรือผู้ดูแลหลัก จำนวน 24 คน กลุ่มเสี่ยง จำนวน 120 คน การศึกษาแบ่ง เป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะวางแผน ทบทวนเอกสาร การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา เก็บรวบรวมข้อมูล จากสถิติผู้ป่วย และระบบสนับสนุนต่างๆ 2) ระยะ พัฒนาแนวทางการดูแล 3) ระยะติดตามสังเกต ขณะนำระบบไปใช้จริง 4) ระยะประเมินผล เครื่อง มือ และการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลจาก สถิติผู้ป่วย แบบสอบถาม การมารับการรักษาใน ระบบเครือข่าย การส่งต่อช่องทางด่วนของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง แบบสัมภาษณ์สหสาขา วิชาชีพ แบบสอบถามการรับรู้สัญญาณเตือนภัย โรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด สมอง และญาติผู้ดูแล ผลการศึกษา พบว่า บริบท การดูแลผู้ป่วยในระยะเฉียบพลัน มีการจัดทำแนว ปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย (ปรับปรุงครั้งที่ 2) โดยเพิ่ม รายละเอียด และกำหนดเวลาในแต่ละขั้นตอน เพื่อ ให้ ส่งต่อได้เร็วทันเวลา มีการปรับปรุงค่าเป้าหมาย เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทการดูแลผู้ป่วย หลังจำหน่าย มีระบบส่งผู้ป่วยผ่านโปรแกรมเยี่ยม บ้าน Thai COC และทาง LINE refer ทำให้เพิ่ม โอกาสการเข้าถึงการดูแลกลุ่มเสี่ยง มีการคัดกรอง โดยใช้ Thai CV risk จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงปานกลาง กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มเสี่ยงสูงอันตราย ติดตามประเมินผลทุก 3 เดือน ส่วนกระบวนการการพัฒนารูปแบบการดูแล ได้กำหนด Nurse Manager stroke ในแต่ละจุดที่ ให้การดูแล พัฒนาสมรรถนะของสหวิชาชีพในการ ดูแล มีการ Monitor และ Management ตาม CPG จัดหาเครื่องมือให้มีความพร้อม และเพียง พอ ติดตามการดูแลรายกรณีผลลัพธ์ที่เกิดจากการ พัฒนา พบว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรคระยะ เฉียบพลัน มีการรับรู้ระดับมาก ร้อยละ 95.83 Onset to door time ≤ 2 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 83.33 เป็นร้อยละ 91.66 Door to door time refer 30 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 22.22 เป็นร้อยละ 37.5 ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมฟื้นฟูที่บ้านเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.35 เป็นร้อยละ 86.96 ข้อ เสนอแนะการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการทั้งใน ด้านนโยบาย ศักยภาพการบริการดูแลผู้ป่วย ระบบ สนับสนุน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การป้องกัน โรคและการฟื้นฟูสภาพ จึงจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับ การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข.(2560) สถิติ สาธารณสุข พ.ศ. 2560. เอกสารอัดสำเนา

2. Saver JL. Time is brain-Quantified. Stroke. 2006;37:263-6.

3. http://www.thaincdcom/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2560). รายงานประจำปี 2560 ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศรีสะเกษ.

5. มาลี คำคง. (2557). การดูแลผู้ป่วยโรคหลอด เลือกสมองบริบทโรงพยาบาลชุมชน วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30