การคัดกรองมะเร็งท่อนน้ำดีด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ของ โรงพยาบาลขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อินทิรา ศรีพันธ์ โรงพยาบาลขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา

คำสำคัญ:

มะเร็งท่อน้ำดี, ผลอัลตราซาวด์

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานการณ์การเฝ้าระวังโรคมะเร็งท่อน้ำดีโดยการ ตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยในระยะแรกเริ่มของ โรงพยาบาลขามทะเลสอและติดตามและประเมิน ผลดำเนินงานในการแก้ปัญหาและติดตามสภาวะ สุขภาพของประชาชนในพื้นที่ของโรงพยาบาล ขามทะเลสอระหว่างปีงบประมาณ 2560-2562 วิธีการศึกษา วิจัยเป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คนอีสานอายุ ≥ 40 ปี และ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ มีประวัติติดเชื้อพยาธิใบไม้ ในตับ, เคยกินยาพยาธิใบไม้ในตับ, มีประวัติการ กินปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดสุกๆ ดิบๆ เครื่องมือการ วิจัย คือ การตรวจคัดกรองด้วยเครื่อง ultrasound รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มข้อมูล Demographic Information Form : Enrollment และ Ultrasound Form ผลการศึกษา ของการตรวจคัดกรองด้วยเครื่อง ultrasound มีผู้เข้าร่วมวิจัย 594 คน มีอายุ อยู่ระหว่าง 50-59 ปี เฉลี่ยร้อยละ 44.64 เป็น หญิงเฉลี่ยร้อยละ 81.96 ระดับการศึกษาชั้น ประถมศึกษาเฉลี่ยร้อยละ 62.73 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเฉลี่ยร้อยละ 64 ไม่เคยได้รับการตรวจ หาไข่พยาธิใบไม้ในตับเฉลี่ยร้อยละ 91.99 ไม่เคย ได้รับการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ในตับเฉลี่ยร้อยละ 92.1 ผู้ป่วยไม่เคยได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าพยาธิ ใบไม้ในตับเฉลี่ยร้อยละ 95.83 ไม่มีญาติป่วยเป็น การคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ของ โรงพยาบาลขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา Screening Cholangiocarcinoma by ultrasound at Kham tale so hospital อินทิรา ศรีพันธ์, พ.บ. โรงพยาบาลขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา Intira Sriphan, M.D. Khamtaleso hospital Nakhonratchasima province มะเร็งท่อน้ำดีเฉลี่ยร้อยละ 96 มีญาติเป็นมะเร็งท่อ น้ำดีจะเป็นญาติ 1 stgeneration คือ พ่อแม่และ พี่น้องเฉลี่ยร้อยละ 1.2 และ 1.13 ไม่สูบบุหรี่เฉลี่ย ร้อยละ 93.03 ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ย ร้อยละ 76.23 ผู้ป่วยไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังเฉลี่ย ร้อยละ 99.46 เคยรับประทานปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด ดิบๆ สุกๆ หรือปลาร้าไม่สุกเฉลี่ยร้อยละ 93.53 ไม่มีโรคประจำตัวเฉลี่ยร้อยละ 79.94 พบเป็นเบา หวานมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 10.26 ผลอัลตราซาวด์ ปกติโดยพบ suspected CCA จากร้อยละ 0 เป็น ร้อยละ 6.17 และพบร้อยละ 0.32 ในปี 2562 การพบแพทย์ครั้งต่อไปส่วนใหญ่ติดตามอาการ 1 ปีเฉลี่ยร้อยละ 82.98 และส่งต่อโรงพยาบาล มหาราชด้วยสาเหตุ Suspected CCA จากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 6.3 และร้อยละ 0.4 หลังส่งตัวไป โรงพยาบาลมหาราชมี case ได้ทำ CT scan ยัง ไม่พบ Cholangiocarcinoma ข้อเสนอแนะ พบว่าไม่พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี เลย อาจเป็นเนื่องจากจำนวนผู้เข้ารับการคัดกรอง ยังน้อยอยู่ ดังนั้นอาจต้องจัดการคัดกรองปริมาณ มากขึ้นเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ในการพบมะเร็ง ท่อน้ำดีและจัดการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีเป็นงาน ประจำตลอดทั้งปี สรุป พบว่าไม่พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในระยะ เวลา 3 ปีที่ทำการคัดกรอง

References

1. ณรงค์ ขันตีแก้ว, นิตยา ฉมาดล, พวงรัตน์ ยงวณิชย์ และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบ สาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจ วินิจฉัยและบริหารจัดการผู้ป่วยมะเร็ง ท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ ได้รับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิ ใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (Cholangiocarcinoma Screening and Care Program: CAS CAP) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ โครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทย ไร้พยาธิใบไม้ตับ (Grand Challenges Thailand: Fluke Free Thailand) จากสภา วิจัยแห่งชาติ (วช.) .ปีที่พิมพ์2561 เข้า ถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4839?locale-attribute=th

2. มยุเรศ ห้วยทราย. (2559). ผลของโปรแกรม การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อ พฤติกรรมการรับรู้การป้องกันโรคพยาธิ ใบไม้ตับของประชาชนอำเภอ ห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์เข้าถึงได้จาก http://03.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php (เข้าถึงเมื่อปี พ.ศ.2562)

3. อาคม ชัยวีระวัฒนะ, อนันต์ กรลักษณ์,เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน. (2554). แนวทางการตรวจ คัดกรองวินิจฉัยรักษาโรคมะเร็งตับและ ท่อน้ำดี พ.ศ.2562.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ปีที่พิมพ์ 2554 หน้า 49-63

Downloads