ผลการปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่า 1 และท่า 3 ต่อระดับ HbA1c ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, สมาธิ บำบัดแบบ SKT ท่า 1 และท่า 3, HbA1cบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผล ของการปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่า 1 และท่า 3 ต่อระดับ HbA 1c ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทรายมูล จำนวน 60 คน รูปแบบการ วิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม กลุ่มละ 30 คน ศึกษาแบบสองกลุ่มเปรียบ เทียบ คือ ก่อน-หลังการทดลอง กลุ่มทดลองเป็นก ลุ่มที่ปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่า 1 และท่า 3 เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ ปฏิบัติสมาธิบำบัดแต่ได้รับโปรแกรมตามปกติของ โรงพยาบาลทรายมูล เก็บข้อมูลตั้งแต่มกราคม- มิถุนายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิง พรรณนาและ t-test ผลการศึกษาพบว่าภายหลัง การทดลอง ระดับ HbA1c ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 กลุ่มทดลองที่ปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่า 1 และ 3 มีค่าเฉลี่ย 7.9% กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ ปฏิบัติสมาธิบำบัดมีค่าเฉลี่ย 9.0% ซึ่งต่ำกว่าอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference= -1.1;95% CI = -2 to -0.3; p = 0.012) และระดับ HbA1c ของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายหลังปฏิบัติสมาธิ บำบัดแบบ SKT ท่า 1และ 3 มีค่าต่ำกว่าก่อนการ ปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่า 1 และ 3 อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = 1.3; 95% CI = 0.7 to 1.9; p <0.001) ผลการศึกษา ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแล ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถนำวิธีการ ปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่า 1 และท่า 3 ไปใช้ เป็นวิธีการร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด ที่ 2 ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
References
2. วิภารัตน์ วงศ์วานวัฒนา. (2551). การส่งเสริม คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้ เทคนิค SKT 1-2 โรงพยาบาลบางกระทุ่ม. วารสารสุภาพภาคประชาชน ภาคเหนือ 2551; 20(1): 78-80.
3. สมพงษ์ ชัยโอภานนท์. ผลการลดระดับน้ำตาล ในเลือดของการปฏิบัติสมาธิออกกำลัง กายประสาทสัมผัส .J Med Assoc Thai Vol. 91 No. 1: 93-98.
4. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. (2554). การ ปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. พิมพ์ ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ:สามเจริญพาณิชย์.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (2560). สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงาน ครั้งที่ 2 กรณีปกติ 2560. ม.ป.ป.
6. อัจฉรา แสนไชย, ลินจง โปธิบาลและภารดี นานาศิลป์ เข้าถึงได้จาก : https://www.tci-thaijo.org (วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤศจิกายน 2560)
7. อุไรวรรณ ตวงสินธนากุล และมณฑา ทรัพย์ พาณิชย์. (2550). การดูแลสุขภาพกาย และใจของผู้ป่วยเบาหวานใน เทพ หิมะทองคำ (บรรณาธิการ), ความรู้เรื่องเบาหวาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
8. Dinardo, M.M.. Mind-body therapies in diabetes management. Diabetes Spectrum 2009; 22(1), 30-4.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว