การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุน การควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุม ระดับความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เสกสรรค์ จวงจันทร์ โรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
  • พนิดา สารกอง โรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
  • สายชล นิลเนตร โรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

โปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจ, โรคความดันโลหิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสนทนา สร้างแรงจูงใจต่อการสนับสนุนการควบคุมความ ดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความ ดันโลหิตไม่ได้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงที่ยังไม่สามารถควบคุมระดับความดัน โลหิตได้ ของโรงพยาบาลโนนคูณ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ การคัดเข้า โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 ราย กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการสนทนาสร้างแรง จูงใจเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ (6 เดือน) เก็บ ข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล และการวัดระดับ ความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การเปรียบ เทียบค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และความดันโลหิตไดแอสโตลิกด้วยสถิติ paired t-test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความดัน โลหิตก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสนทนา สร้างแรงจูงใจด้วยสถิติ one sample t-test ผล การศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต ซิสโตลิกก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาสร้าง แรงจูงใจฯ มีค่าสูงกว่า (x = 160.40, S.D. = 13.41) ซึ่งภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาสร้างแรง จูงใจเดือนที่ 1 มีระดับความดันโลหิตซิสโตลิกลด ลง (x = 148.23, S.D. = 11.64) เดือนที่ 3 (x = 138.43, S.D. = 12.56) และเดือนที่ 6 (x= 138.57, S.D. = 12.03) สำหรับค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต ไดแอสโตลิกก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสนทนาสร้าง แรงจูงใจมีค่าสูงกว่า (x = 91.97, S.D. = 9.11) ภายหลังการเข้าร่วมเดือนที่ 1 มีค่าเฉลี่ยลดลง (x= 83.40, S.D. = 77.80) เดือนที่ 3 (x = 77.80, S.D. = 13.15) และเดือนที่ 6 (x= 78.57, S.D. = 12.49) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความ ดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกก่อนและหลัง เข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจพบว่า มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

References

1. ธาริณี พังจุนันท์ และนิตยา พันธุเวทย์. (2556). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูง โลก 2556. Retrieved October 22, 2013 from http://thaincd.com/document/file/news/announcement/_message%20HT%2012%2004%2012_update.pdf

2. วิชัย เอกพลากร. (2553). การสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ในปี 2551- 2552. นนทบุรี : บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.

3. เสาวภา พรสิริพงษ์. (2550). การดูแลสุขภาพ แบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

4. U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health, National Heart, Lung, and Blood Institutes. (2003). The Seventh report of the Joint National Committee on retention, detection, evaluation and treatment of high blood pressure : The JNC 7 report (2003). Retrieved November 5, 2003, From http://www.nhlbi.nih.gov/guidelines/hypertension/jnc7full.pdf

5. อุ่นใจ เครือสถิตย์. (2542). ศึกษาประสิทธิภาพ ของการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อการดูแล ตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดัน โลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ใน เขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

6. จงภักดี พร้อมเพียงบุญ. (2541). โปรแกรมการ ส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ที่คลินิกผู้สูง อายุ โรงพยาบาลลำพูน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

7. บุญชู เหลิมทอง, ทัศนีย์ รวิวรกุล และสุวัฒน์ ศรีสรฉัตร. (2554). ผลของโปรแกรม การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกัน โรคต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพใน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กองทัพ อากาศ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 19(4). 61-71.

8. Rollnick S, Miller W. (1995). What is Mo tivational Interviewing? Behavioral and Cognitive Psychotherapy. 23. 325-334.

9. เทอดศักดิ์ เดชคง. (2555). เทคนิคให้คำปรึกษา แบบสร้างแรงจูงใจ (Motivational Counseling). กรุงเทพ. สนพ. หมอชาวบ้าน

10. อัญชลี เกาะอ้อม. (2560). ผลของโปรแกรม การสร้างแรงจูงใจร่วมกับการออกกำลัง กายต่อความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

11. Rollnick S, Mason P , and Butler C. (1999). Health behavior change: A guide for practitioners. Edinburgh. Churchill Livingstone.

12. Miller W, Rollnick S. (2002). Motivational in terviewing. (2nd Ed). New York: The Gilford.

13. Harland P , Staats H , and Wilke H.A.M. (1999). Explaining pro-environmen tal intention and behavior by the theory of planned behavior and personal norms. Journal of Ap plied Social Psychology. 29. 2505- 2508

14. DiClemente. (1992). In Search of How People Change, Applications to Addictive Behaviors. September 1992. American Psychologist. 1102- 1113.

Downloads