การระบาดของโรคหัดในผู้ต้องขังเรือนจำแห่งหนึ่งจังหวัดอำนาจเจริญ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2561

ผู้แต่ง

  • สำราญ เหล็กงาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ
  • บุศนี มุจรินทร์ โรงพยาบาลปทุมราชวงศา
  • อภิชัย สะดีวงศ์ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

การระบาดของโรคหัด, ผู้ต้องหา, อำนาจเจริญ, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การระบาดของโรคหัดในประเทศไทยยัง ไม่มีสัญญาณว่าจะหมดไปการศึกษาภาคตัดขวาง เชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบสวนและ ยืนยันการระบาดของโรคหัดในผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดอำนาจเจริญระหว่างวันที่ 29 มกราคม ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,731 ราย ได้รับ การคัดกรอง โดยมีอายุเฉลี่ย 26 ปี 98 ราย ปรากฏ อาการตามคำนิยามของโรคหัด ผู้ป่วยรายแรกเป็น ชายอายุ 25 ปี ที่มีอาการป่วยก่อนเข้าไปในเรือน จำ ผลการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์หัดพบ Measles genotype: Genotype D8 จำนวน 11 ราย และ หัดเยอรมัน 2 ราย การระบาดของหัดยังคงดำเนินไป ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 11 กุมภาพันธ์ 2561 โดย มีอัตราโจมจับทั้งสิ้น 56.58 ต่อพันประชากรผู้ป่วย 15 รายได้รับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ไม่พบ รายงานการเสียชีวิต ร้อยละ 100 มีไข้และออกผื่น ตามมาด้วยไอ ร้อยละ 84.7, มีจุด koplik’sร้อยละ 63.3, ถ่ายเหลว ร้อยละ 62.2 และตาแดง ร้อยละ 54.1 ตามลำดับ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ พบว่า การใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน (OR 23.79, 95% CI 9.26 to 61.08), การใช้ช้อนร่วมกัน (OR 5.38,95% CI 2.97 to 9.74) และการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย (OR 2.66, 95%CI 1.61 to 4.38) มีนัยสำคัญ ทางสถิติกับการระบาดของโรคหัดในเรือนจำที่ระดับ ความเชื่อมั่น (p<0.001)

ดังนั้น ผู้ต้องหารายใหม่ควรได้รับการคัด กรองก่อนเข้าไปในเรือนจำ ผู้ป่วยที่ต้องสงสัยป่วย ด้วยโรคหัดควรได้รับการคัดแยกกักออกจากผู้ต้อง หาอื่นๆ ผู้ต้องหาและเจ้าหน้าที่ทุกคนควรได้รับ ภูมิคุ้มกันหมู่ของวัคซีนป้องกันคางทูม หัด และ หัดเยอรมัน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคหัดที่ เกิดขึ้นในเรือนจำ

References

1. Centers for Disease Control and Preven tion. (2018). Signs and symptoms of measles [cited 2018 Feb 20].Avail able from: https://www.cdc.gov/ measles/symptoms/index.html

2. Centers for Disease Control and Preven tion. (2018). Measles overview [cited 2018 Feb 20]. Available from: http://www.cdc.gov/measles

3. World Health Organization. (2007). Mea sles factsheet. November 2007 [cited 26 Nov2010]. http://www. who.int/mediacentre/factsheets/ fs286/en/index.html

4. ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ, เลิศฤทธิ์ ลีลาธร. (2559). แนวทางการเฝ้าระวังควบคุม โรค การตรวจรักษา และส่งตัวอย่าง ตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัด โรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัด ตามพันธะสัญญานานาชาติ พิมพ์ครั้ง ที่ 3.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

5. งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อำานาจเจริญ. (2561). อัตราป่วยและ อัตราตายโรคในระบบเฝ้าระวัง จำแนกราย ปี จังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ.2550-2561 [เอกสารอัดสำเนา]. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด.

6. สมชาย ปิยวัชร์เวลา, วงษ์กลาง กุดวงษา, สุรสิทธิ์ ศรีวิรัตน์, เอมอร สุทธิสา, ชยานนท์ สุคุณา. (2557). การระบาดของโรคหัดใน ผู้ต้องขังชาย เรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัด มหาสารคาม เดือนมีนาคม-มิถุนายน 2556.รายงานการเฝ้าระวังทางระบาด วิทยาประจำสัปดาห์

7. เอกชัย ยอดขาว, อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลย์ วงศ์,นิภา รุ่งประทีปพิบูล, ฐิติมา เปลี่ยนเจริญ, ต่อศักดิ์ เกษนาค, ประสพชัย อร่าม รุ่งโรจน และคณะ. (2555). การสอบสวน และควบคุมการระบาดของโรคหัด ใน เรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ เดือนมกราคม - มีนาคม 2554.รายงาน การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์

8. พิทักษพงศ์ พายุหะ, กาญจนา กงจักร์. (2561). รายงานการสอบสวนการระบาดโรค หัด โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอ เมือง หมู่13 ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอ เกษตรวิสัย และหมู่ 5 ตำบลอุ่มเม้า อำเภอ ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด มีนาคม – เมษายน 2561. [เอกสารอัดสำเนา]. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด.

Downloads