การพัฒนารูปแบบบริการเพื่อการจัดการโรคไข้มาลาเรียบริเวณพื้นที่ชายแดน ไทย-กัมพูชา จังหวัดตราด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ รัตนเพียร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่มความสามารถให้แก่เจ้าหน้าที่ แกนนำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ในการจัดการโรคไข้มาลาเรียบริเวณพื้นที่ ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม (1) กลุ่มที่ใช้พัฒนากระบวนการ ได้แก่ แกนนำ ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ตำบลละ 30 คน (2) กลุ่มที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจและการรับ รู้ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ผู้มารับบริการ ณ มาลาเรีย คลินิกและมาลาเรียชุมชน ระหว่างปีงบประมาณ 2559 ถึง 2562 ปีละ 650 คน โดยมีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอนได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง (2) การวิเคราะห์สถานการณ์และสาเหตุ การแพร่ระบาด ของโรคไข้มาลาเร ีย (3) การกำหนดรูปแบบการ บริการและการนำรูปแบบการบริการไปใช้ และ (4) การประเมินผลการพัฒนาใช้เวลาในการศึกษา ทั้งสิ้น 4 ปี คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ได้ แก่ (1) แบบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการอบรม (2) แบบประเมินผลการดำเนินงาน (3) แบบประเมิน ความพึงพอใจ ดำเนินการรวบรวม เรียบเรียง และ การวิเคราะห์เนื้อหาโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริการเพื่อจัดการโรคไข้มาลาเรีย บริเวณพื้นที่ชายแดน ไทย-กัมพูชาของอำเภอเมือง จังหวัดตราด ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ประกอบด้วย การจัดบริการเชิงรับและการจัดบริการเชิงรุก ได้แก่ (1) การค้นหาและรักษาผู้ป่วยโดยเร็ว (Early detection and prompt treatment) (2) การป้องกันส่วนบุคคล (individual protection) และ (3) การควบคุมยุงพาหะ (Vector control) ภายหลังการนำรูปแบบบริการไปทดลองใช้พบ ว่า รูปแบบบริการสามารถใช้ดำเนินการให้บริการ แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่ง ผลให้การแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรียลดลง ประชาชนในพื้นที่ดำเนินงานมีการรับรู้และมีความ พึงพอใจในรูปแบบบริการที่พัฒนาเพื่อจัดการโรค ไข้มาลาเรียในพื้นที่ มากกว่าร้อยละ 85

References

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัด เชื้อมาลาเรียที่ดื้อยาผสมอนุพันธุ์อาร์ติมิซิน ระดับภูมิภาคภายใต้โครงการกองทุนโลก ด้านมาลาเรียปฎิบัติงานควบคุมโรค มาลาเรีย. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์ กรุงเทพ.

2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี. (2559). สำนักพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด นนทบุรี.

3. Department of international economic and social affiars, United Nation. (1981). population participation as a strategy for promoting community level action and national develop ment. Paper presented at the meeting of the adhoc group of expert, at UN Headquarter, New York, USA.

4. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์ เพื่อการวิจัย ปีที่พิมพ์ 5/2553.

5. ดุสิต ดวงสา และคณะ. (2535). คู่มือการใช้ PRA ในการทำงานด้านเอดส์ในชุมชน คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6. ประเวศ วะสี. (2541). บนเส้นทางใหม่การ ส่งเสริมสุขภาพอภิวัฒน์ชีวิตและสังคม พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน.

7. ไพบูลย์ วัฒนธรรมศิริ. (2542). ชุมชนเข้มแข็ง : ทุน ทางสังคมของไทย.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนเพื่อ สังคมและธนาคารออมสิน.

8. วีระ นิยมวัน. (2542). การประชุมทำงานอย่างมี ส่วนร่วมความคิดสร้างสรรค์ AIC นนทบุรี โครงการตำราสำนักงานวิชาการ กรม อนามัย.

9. ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2544). เวทีประชาคม สร้างสรรค์สุขภาพเด็กไทย กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี.

10. กู้เกียรติ ก้อนแก้ว และปัทมา สุพรรณกูล. (2558). การพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมโรคมาลาเรียสำหรับพื้นที่ ชายแดนไทย-พม่าโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กรณีศึกษาตำบลท่าสองยาง อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทร์นเอเชีย ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม).

11. สมหมาย งึมประโคนและคณะ. (2559). การ พัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรค มาลาเรีย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30