การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • ทรงวิทย์ ภิรมย์ภักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ระบบเฝ้าระวังโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตราด โดยวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยปฏิบัติ การแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการศึกษาเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดล้อม ระยะที่ 2 ดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขใน การดำเนินการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนา ระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม โดยมีขั้นตอนในการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สภาพปัญหาและ สถานการณ์ การกำหนดรูปแบบการพัฒนาระบบ การเฝ้าระวัง และการนำรูปแบบการพัฒนาไปใช้ ในการดำเนินงาน

ผลการศึกษา 1. สถานการณ์โรคจากการประกอบ อาชีพและสิ่งแวดล้อมและสภาพปัญหาจากข้อมูล 43 แฟ้ม พบการบาดเจ็บจากการทำงานมากที่สุด บุคลากรสาธารณสุขมีความรู้และมีส่วนร่วมเกี่ยว กับระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม ค่อนข้างน้อย พบการลงรหัส Y96 ร้อยละ 9.37 การใส่รหัส ICD-10 ตำแหน่งที่ 5 ใน สาเหตุภายนอกของการได้รับบาดเจ็บ (รหัส 2 ขณะ ทำงานเพื่อรายได้ ) เพียงร้อยละ 3.21 อีกทั้งยังไม่มี การตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของการวินิจฉัย และให้รหัสโรคก่อนส่งข้อมูลเข้าระบบ HDC 2. รูปแบบการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ในครั้ง นี้คือ การพัฒนาการมีส่วนร่วม กำหนดประเภท ของโรคที่ต้องเฝ้าระวังที่สำคัญในพื้นที่ 3 โรค คือ ภาวะบาดเจ็บจากการทำงาน โรคพิษสารกำจัด ศัตรูพืช และโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการ ทำงาน กำหนดให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลจาก 43 แฟ้ม และมีข้อเสนอให้นำข้อมูลเข้า สู่การพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 3. หลังการพัฒนา พบว่าบุคลากร สาธารณสุข มีความรู้และมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น การ ให้รหัส Y96 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88.88 การใส่รหัส ICD-10 ตำแหน่งที่ 5 ถูกต้อง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.50

สรุป การพัฒนาศักยภาพโดยใช้กลยุทธ์ การพัฒนา 3 ประการ คือ การชี้นำ (advocacy) การเพิ่มความสามารถ (enabling) และการไกล่เกลี่ย (mediating) สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตราด

References

1. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. (2557). พื้นฐานระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1.นนทบุรี:สมาคมนักระบาด วิทยาภาคสนาม.

2. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, คำนวณ อึ้งชูศักดิ์,ปภานิจ สวงโท และอาทิชา วงศ์ คำมา. (2557). ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ .พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ จำกัด.

3. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดล้อม.(2560).ระบบเฝ้าระวังโรคจาก การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/manual_%20Envocc%202.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 11 ธันวาคม 2560).

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. (2560). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และ สุขภาพ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https:// trt.hdc.moph.go.th/hdc/ reports (วัน ที่ค้นข้อมูล : 11 ธันวาคม 2560).

5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง สาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ด้าน สาธารณสุขเพื่อรองรับเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2560-2564. (ม.ป.ท.)

6. กรมควบคุมโรค. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ แห่งชาติภายใต้แผนพัฒนาสุขภาพแห่ง ชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์.

7. ปองพล วรปาณิและคณะ. (2560). การ พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ปี 2557. วารสารวิชาการสาธารณสุข,ปีที่26 (ฉบับเพิ่มเติม1).

8. วิชัย โชควิวัฒน. (2544). ข้อเสนอเพื่อการ ปฏิรูประบบการควบคุมป้องกัน โรคในประเทศไทย.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/1848/hs0854.pdf?sequence=2&isAllowed=y (วันที่ค้นข้อมูล : 10 มกราคม 2561).

9. สุวิมล ปานะชา. (2562). การพัฒนาศักยภาพ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือ พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารแพทย์เขต 4-5, ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2562.

10. กรมควบคุมโรค. (2560). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพ(พ.ศ.2560 - 2579). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน.

11. กรมควบคุมโรค. (2561). เอกสารแผนงาน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระยะปฏิรูป (พ.ศ.2560 - 2564) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://plan.ddc.moph. go.th/edocuments61/%E0%B8%9 E%E0%B8%8A%E0%B8%AD/page1.html (วันที่ค้นข้อมูล : 10 มกราคม 2561).

12. ชื่นพันธ์ วิริยะวิภาต. (2559). การพัฒนาระบบ เฝ้าระวังป้องกันควบคุมวัณโรคตามแนว ชายแดนไทย-ลาวในพื้นที่จังหวัด หนองคายตามแนวทางการบันทึกความ ร่วมมือ.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น,ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559.

Downloads