รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ในพื้นที่ตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จ.หนองคาย วันที่ 31 ก.ค. 2562 - 2 ส.ค. 2562

ผู้แต่ง

  • อลงกฎ ดอนละ โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย
  • ประวัตร จันเทพา โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย
  • ศิริพร พรหมศิริ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย

บทคัดย่อ

วันที่ 1 สิงหาคม 2562 งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลสระใคร ได้รับแจ้งจากพยาบาลงานผู้ป่วย ในโรงพยาบาลสระใคร มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ด้วยอาการถ่ายเหลว อาเจียน ปวดบิดท้อง จำนวน 5 ราย ตั้งแต่เวลาประมาณ 04.00 น. – 06.30 น.ให้ ประวัติรับประทานอาหารจากตลาดนัด จึงออก สอบสวนโรคทันที เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและ การระบาดของโรค อธิบายลักษณะการเกิดโรค ตามบุคคล เวลา สถานที่ ค้นหาสาเหตุ และปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรค ดำเนินการมาตรการควบคุม โรค และเสนอแนวทางในการป้องกันการระบาด ของโรคที่เหมาะสมต่อไป โดยใช้วิธีการศึกษา ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา การศึกษาระบาดวิทยา เชิงวิเคราะห์แบบ case control การศึกษาด้าน สิ่งแวดล้อมสุขาภิบาลอาหาร และการศึกษาทาง ห้องปฏิบัติการ

ผลการสอบสวน พบผู้ป่วยทั้งหมด 21 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราป่วย ร้อยละ 33.33 (21/63) เป็นเพศชาย 10 ราย เพศหญิง 11 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 1.1 อายุน้อยสุด 6 ปี สูงสุด 65 ปี มีอาการและอาการแสดงมากที่สุด คือถ่ายเป็นน้ำ ร้อยละ 80.95 รองลงมา คือปวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้ ไข้ วิงเวียน ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นมูก ร้อยละ 76.19, 52.38, 42.86, 33.33, 23.81, 14.29, 4.76 ตามลำดับ ระยะฟักตัวเฉลี่ย 8 ชั่วโมง สั้นสุด 3 ชั่วโมง ยาวสุด 13 ชั่วโมง ผลการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการตัวอย่าง Rectal swab ผลพบเชื้อ Vibrio parahemolyticus ในผู้ป่วย 5 ราย ลักษณะการระบาดเป็นการระบาดแบบแหล่ง โรคร่วมกัน หอยแมลงภู่เป็นอาหารที่สงสัยว่ามี ความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอาหารเป็นพิษครั้งนี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 106, 95% CI = 12.73 – 882.25, P-value <0.001 ) ตัวอย่าง อาหารสงสัยค้างเหลือมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะ ส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ โดยแหล่งที่มา ของอาหารสงสัยครั้งนี้รับซื้อมาจากรถอาหาร ทะเลจากมหาชัยนำมาจำหน่ายในตลาดนัดประจำ หมู่บ้านเป็นประจำโดยการนึ่ง มาตรการควบคุม และป้องกันโรคที่สำคัญ คือการเน้นเตือนการรับ ประทานอาหารทะเลที่ปรุงสุกทั่วถึง และ สด ใหม่ รวมทั้งการสุขาภิบาลแผงลอยการจำหน่ายอาหาร ในตลาดนัด

References

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2546) นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับ ส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

2. Heyman David.(2003),Control of communicable disease manual.18thedition .Washington DC.American Public Health Association;2004:123,124-125,508-512.

3. RobLake,Risk Profile : Vibrio parahae molyticus.New Zealnd . New Zealnd Safety Authority;2003: 14-15.

4. Benenson AS.(1990), Vibrio parahaemolyticus food poisoning. In: Abram S. Ben enson, editor. Control of Commu nicable Diseases in Man. Washing ton, DC: An of¬ficial report of the American Public Health Associ ation.p.175-177.

5. จรุง เมืองชนะ.(2539), การระบาดของโรคอาหาร เป็นพิษจากเชื้อ vibrio parahaemolyt icus. ในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ใน กรุงเทพมหานคร.

6. หทัย พันธ์พงษ์วงศ์ อุไร ศรีพุ่ม ทวิช พุคคะบุตร ปวีณา ชื่นจิตร พิพัฒน์ บุญสวัสดิ์ บัญญัติ ฉัตระทิน.(2550),การระบาดของโรคอาหาร เป็นพิษในวัดแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรสงคราม เมษายน 2550.รายงาน การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์ สำนักระบาดวิทยา. 38:725-730.

7. อุไร ภูนวกุล รัชฎาวัลย์ เจียรนัยวงษ์กุล.(2555), การ สอบสวนการระบาดของโรคอาหาร เป็นพิษจากเชื้อ vibrio parahaemo lyticus ในบุคลากรที่เข้าร่วมประชุมจัด ทำแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์ คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า.29(2): 72-81

Downloads